June 19, 2008

June 14, 2008

| Poster for “No More Belts' Happening” |



Poster Design (120 cm x 84 cm) by Santi Lawrachawee
joined to “No More Belts' Happening” music and art festival
June 14, 2008 | 16.00-22.00
at 6th floor, JJ Mall

June 01, 2008

| เก็บตกจาก Pecha Kucha Night |


Pecha Kucha Night ครั้งที่ 4 เมื่อวันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม 2551 ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสร่วมเป็น 1 ใน 20 speakers
โดยนำชุดภาพ Deinstallation ที่ลงบล็อคมาได้ซักพักใหญ่แล้ว
(สามารถดูได้ที่ลิงค์ครับ http://grafiction.blogspot.com/2007/05/deinstallation-art-exhibition.html)
เลยนำเนื้อหาที่พูดประกอบภาพ 20 ภาพมาเรียบเรียงใหม่ ประมาณ 6 นาทีเศษครับ...

“เมื่อช่วงเวลาเดียวกันนี้แต่เป็นปีที่แล้ว ผมมีโอกาสร่วมเป็นทีมงานในการติดตั้งนิทรรศการศิลปะที่ชื่อ “Show me Thai”
ซึ่งจัดขึ้นที่ Musuem of Contemporary Art, Tokyo (MOT) ซึ่งเป็นนิทรรศการที่จัดขึ้นเนื่องในโอกาสครบ 120 ปี
ความสัมพันธ์ทางการทูตของ ไทย-ญี่ปุ่น และก็มีโอกาสช่วยงานตอนรื้อเก็บผลงานศิลปะกลับประเทศไทย
ให้ผลงานที่แสดงกลับคืนสู่เจ้าของผลงานในสภาพเรียบร้อย

ระหว่างการเก็บผลงาน ต้องเช็คให้เรียบร้อยว่างานแต่ละชิ้นถูกเก็บเข้าคอนเทนเนอร์หมดทุกชิ้น
สุดท้ายในพื้นที่แสดงงานก็หลงเหลืออยู่แต่อุปกรณ์ทำความสะอาด เครื่องมือ และกองของเหลือใช้
ขณะนั้นผมเกิดความรู้สึกบางอย่างขึ้นระหว่างเดินอยู่ในพิพิธภัณฑ์ที่ว่างเปล่า
ผมยังรู้สึกว่างานศิลปะในพื้นที่แห่งนี้ยังไม่หมดไป ทั้งๆ ที่ทางทีมงานเพิ่งเก็บไปอย่างเรียบร้อย

ไม้ถูพื้น กองกระดาษ นั่งร้าน บันไดเหล็ก สว่าน เทปกาว และข้าวของอีกหลายๆ อย่างในพื้นที่นี้
กำลังแปรสภาพตัวเองให้เป็นงานศิลปะทดแทนงานศิลปะ (จริงๆ) ที่ถูกขนย้ายออกไป
ผมเริ่มเดินถ่ายภาพงานศิลปะ(ใหม่)ที่เกิดจากการถอดเก็บงานศิลปะ(เดิม)ที่เคยยึดครองพื้นที่แห่งนี้

ผมอาจรู้สึกชื่นชอบกับการชมงานศิลปะแขนงต่างๆ ในพื้นที่ทางศิลปะ (พิพิธภัณฑ์/แกลเลอรี่)
แต่ผมไม่เคยได้รับรู้พลังแห่งพื้นที่ทางศิลปะที่มีผลต่อผมได้มากขนาดนี้มาก่อน พื้นที่ทีอิทธิพลมากพอที่จะกำกับ
ให้สิ่งที่ผมไม่เคยนิยามหรือเห็นมันเป็นผลงานศิลปะ กลับกลายให้สิ่งนั้นอยู่ในบริบททางสุนทรียภาพ
จนเหมือนกับว่า “มันน่าจะเป็นงาน Installation ของใครซักคน”

แต่ใครคนนั้นอาจไม่ใช่บุคคล แต่อาจจะเป็นผลงานของการถอยตัวออกไปของผู้ถือสิทธิ์ในพื้นที่เดิม
เปิดโอกาสให้สิ่งที่เป็น Minority ได้มีพื้นที่ในการนำเสนอตัวตนออกมาได้
สอดคล้องกับสิ่งที่เกิดกับผมในขณะนั้นที่บรรทัดฐานและนิยามของศิลปะที่เข้มงวดเดิมของผมถูกถอดถอน
และขนย้ายลงกล่องและคอนเทนเนอร์พร้อมๆ กับงานศิลปะทั้งหลายไปด้วย ทำให้มุมมองมีที่ว่างสำหรับ
ความงามแห่งวัสดุอุปกรณ์ทั้งหลายได้แสดงตัวตนออกมาภายใต้การสนับสนุนของพื้นที่ทางศิลปะ

พื้นที่ที่พูดถึงอาจไม่ใช่เพียงหมายถึงแค่สถานที่ แต่ยังพาดพิงถึงทัศนคติที่ต้องเปิดกว้างและการให้โอกาส
ผมเองไม่อาจชี้ชัดว่าภาพที่ท่านเห็นคืองานศิลปะหรือไม่
และก็ไม่ได้อยากจะถกเถียงเรื่องศิลปะคืออะไร
แต่สิ่งที่อยากจะพูดถึงมากๆ ก็คือว่า มันจะดีซักแค่ไหนถ้าสภาพแวดล้อมที่เราอยู่ สามารถสนับสนุนหรือมีแรงขับ
สิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของหรือคนในสังคมนั้น ให้เกิดการขับเคลื่อนทางความคิดสร้างสรรค์ได้

พื้นที่อีกแบบที่อยากจะพูดถึงก็คือ พื้นที่ในความคิดของเรา
เคยสังเกตมั้ยครับ เวลาเราไปอยู่ในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย
มักจะทำให้พื้นที่ในสมองเรามีที่ว่างมากขึ้น อาจเพราะความทรงจำประเภทความเคยชินจะต้องถูกเก็บเข้าลิ้นชักอย่างเรียบร้อย
พื้นที่ในสมองก็จะมีที่ว่างสำหรับการใช้ความคิดมากขึ้น และนั่นแหละที่เราอาจจะได้ความคิหรือมุมมองใหม่ๆ ได้
แต่ถ้าตัวเราสามารถทำให้สถานที่ที่คุ้นเคยเปลี่ยนเป็นสถานที่ที่ไม่เคยชินได้ พื้นที่ของความคิดสร้างสรรค์ก็อาจเกิดขึ้นได้
โดยที่เราไม่ต้องเปลี่ยนที่เปลี่ยนทางก็ได้...
เหมือนที่ใครบางคนเคยกล่าวว่า “นอกเหนือจากการโกอินเตอร์ คุณก็โกอินไซด์ได้”

สุดท้ายกลับมา ณ วินาทีที่ผมยืนอยู่ตรงนี้...
ผมกำลังยืนอยู่บนพื้นที่ทางความคิดสร้างสรรค์
พื้นที่ที่สนับสนุนให้ความคิดหนึ่งมีโอกาสแสดงตัวออกไป โดยมีผู้มานั่งรับฟังจำนวนมาก
เป็นพื้นที่ที่เกิดจากความเชื่อมั่นในความคิดของกันและกันอย่างยิ่ง
เป็นพื้นที่ที่สนับสนุนให้ สว่านหรือเทปกาวได้แสดงคุณค่าของตัวตนออกมา
โดยไม่มีกรอบทางความคิดใดๆ มาปิดกั้น
...พื้นที่แบบนี้แหละครับที่จะมีส่วนผลักดันให้สิ่งดีๆ เกิดขึ้นในสังคม...