April 04, 2007

ภาพยนตร์สารคดี Helvetica

:: Helvetica Film ::

Helvetica ที่กล่าวถึงนี้คือภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับการออกแบบตัวอักษร กราฟฟิกดีไซน์เนอร์ และวัฒนธรรมทางสายตาของโลก โดยมองไปยังความเป็นไปของแบบตัวอักษรตัวหนึ่ง (ที่มีอายุครบ ๕0 ปีในปีพ.ศ. ๒๕๕๐) กับผลที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันจากตัวอักษร อีกทั้งยังมีการแสดงความคิดของนักออกแบบตัวอักษร (Typeface Designer) และ กราฟฟิกดีไซน์เนอร์ที่มีชื่อเสียงหลายคน มาพูดถึงงานของพวกเขา กระบวนการสร้างสรรค์ รวมไปถึงสุนทรียภาพที่อยู่เบื้องหลังการเลือกใช้แบบตัวอักษร

นักออกแบบที่ว่ามีรายชื่อดังนี้ครับ Erik Spiekermann, Matthew Carter, Massimo Vignelli, Wim Crouwel, Hermann Zapf, Neville Brody, Stefan Sagmeister, Michael Bierut, David Carson, Paula Scher, Jonathan Hoefler, Tobias Frere-Jones, Experimental Jetset, Michael C. Place, Norm, Alfred Hoffmann, Mike Parker, Bruno Steinert, Otmar Hoefer, Leslie Savan, Rick Poynor, Lars Müller, และอีกมากมาย


^Amsterdam

^Frankfurt

^London

^Zurich

^Massimo Vignelli



:: เกี่ยวกับ Helvetica ::

Helvetica เป็นแบบตัวอักษร sans-serif ที่ถูกออกแบบโดย Max Miedinger กับ Eduard Hoffmann
ในปี ๑๙๕๗ โดยออกแบบให้กับ the Haas Type Foundry ในเมือง Münchenstein ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
ในช่วงปลายทศวรรษ ๑๙๕๐ วงการการออกแแบบในยุโรปมีกระแสการฟื้นฟูตัวอักษร sans-serif ที่มีอยู่เดิม เช่น Akzidenz Grotesk ของเยอรมัน Eduard Hoffmann ซึ่งเป็นผู้อำนวยการของ Haas อยู่ในขณะนั้น ได้มอบหมายให้ Max Miedinger พัฒนาแบบตัวอักษร sans-serif ขึ้นมาใหม่ โดยตอนแรกใช้ชื่อว่า Neue Haas Grotesk แล้วต่อมาค่อยเปลี่ยนเป็น Helvetica ที่มาจากคำว่า Helvetia ซึ่งเป็นชื่อภาษาละตินของประทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อ Haas' German parent companies Stempel และ Linotype เริ่มขยายตลาดนานาชาติในปี ๑๙๖๑

ด้วยกระแสความนิยมของ Swiss design ทำให้สตูดิโอออกแบบต่างๆ หันมาใช้ Helvetica กับงานของลูกค้า Helvetica ปรากฏตัวในวงกว้างอย่างรวดเร็ว ทั้งใน สัญลักษณ์องค์กร (corporate logos) ป้ายจราจรและระบบขนส่งมวลชน (signage for transportation systems) ศิลปะภาพพิมพ์ และอื่นๆ อีกมากมาย จนเข้าสู่การใช้งานในบ้านเมื่อ the Apple Macintosh บรรจุ Helvetical ไว้ในระบบปฏิบัติการ ในปี ๑๙๘๔

ทุกวันนี้เรายังคงเห็น Helvetica ปรากฏอยู่ในงานสื่อสารต่างๆ ทั่วโลก

-->อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.helveticafilm.com ครับ

No comments: