October 28, 2007

Communication Design 4 / 2 0 0 7

Communication Design Department,
School of Fine and Applied Arts, Bangkok University
ผู้สอน ::
อาจารย์สุมิตรา ศรีวิบูลย์
อาจารย์สำเร็จ จารุอมรจิต
อาจารย์ปิยลักษณ์ เบญจดล
อาจารย์ศรัณย์ สรรพศิริ
อาจารย์ชุติมารี จาตุรจินดา (mali@beourfriend.org)
อาจารย์สันติ ลอรัชวี (santivithee@gmail.com)
--------------------------------------------------------------------
วัตถุประสงค์
เป็นวิชาที่ต้องการสนับสนุนให้นักศึกษาได้เชื่อมโยงทักษะและความรู้ต่างๆ ที่ได้ศึกษาและฝึกฝน
จากประสบการณ์การเรียนที่ผ่านมาได้อย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ขั้นตอนการค้นคว้า
การทำความเข้าใจข้อมูล การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ความคิดและรูปแบบ
รวมจนถึงการนำเสนอผ่านสื่อต่างๆ ได้อย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ
อีกทั้งยังนำเสนอให้นักศึกษาได้เห็นมิติต่างๆ ของงานออกแบบและ
ทัศนคติต่อบทบาททางวิชาชีพของตนเอง
--------------------------------------------------------------------
รูปแบบการเรียนการสอน
สร้างรูปแบบการเรียนการสอนที่จะเกิดประโยชน์ต่อนักศึกษาสูงสุด ด้วยการปฏิเสธรูปแบบ
การตรวจแบบร่างตัวต่อตัว เนื่องจากทำให้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนมีระยะเวลา
ร่วมกันค่อนข้างน้อย เพราะจำนวนนักศึกษามาก และเป็นเหตุให้นักศึกษาสนใจเพียงแค่
กรณีศึกษาของตนเอง

สนับสนุนรูปแบบการเรียนการสอนแบบสนทนากึ่งสัมมนา พยายามนำเสนอประเด็นทาง
การออกแบบส่วนบุคคลให้เป็นประเด็นของชั้นเรียน ซึ่งจะทำให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้
กรณีศึกษาได้หลากหลายในการเข้าชั้นเรียนในแต่ละครั้ง โดยที่ผู้สอนอาจใช้ดุลพินิจใน
การปรับใช้รูปแบบการตรวจแบบร่างส่วนบุคคลมาใช้สลับกันตามสมควร โดยอาจใช้
การแบ่งกลุ่มย่อยที่มีลักษณะร่วมกันในการตรวจแบบร่างก็ได้
--------------------------------------------------------------------
เนื้อหาการเรียนการสอน
แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนดังต่อไปนี้
ลำดับที่ 1 การค้นคว้าและการทำความเข้าใจข้อมูล
มุ่งเน้นให้นักศึกษาได้มีโอกาสค้นคว้าและทำความเข้าใจข้อมูลที่มีความหลากหลาย
ทั้งเชิงปริมาณและมิติของข้อมูล และสามารถนำไปสู่ความคิดเห็นที่เชื่อมโยง
ต่อบริบทต่าง (หัวข้อที่กำหนดให้นักศึกษา ได้แก่ นักออกแบบ ผลงานออกแบบ หรือ แนวคิด
ที่มีบทบาทต่อสังคมการออกแบบในยุคสมัยต่างๆ)

ลำดับที่ 2 การสังเคราะห์ที่นำไปสู่ประเด็นทางการออกแบบ
นักศึกษาจะต้องสังเคราะห์เนื้องานในลำดับที่ 1 เพื่อนำไปสู่การสร้างประเด็น
ทางการออกแบบของตนเอง ก่อนจะผ่านลำดับที่ 2 นี้ไป
นักศึกษาแต่ละคนจะต้องมีประเด็นในการทำงานออกแบบแล้ว

ลำดับที่ 3 การทดลองแสวงหาแนวทางการทำงานเชิงความคิดและรูปแบบ
มุ่งเน้นการทำงานหนัก เพื่อแสวงหาทางเลือกของคำตอบที่มีความเป็นไปได้
เพื่อให้เกิดกระบวนการทางความคิดเชิงวิเคราะห์ อันนำไปสู่การตัดสินใจ
ที่เหมาะสมต่อไป

ลำดับที่ 4 การนำเสนอด้วยผลงานที่สมบูรณ์
เป็นขั้นตอนที่เอาจริงเอาจังกับคุณภาพของผลงานสำเร็จในทุกๆ ด้าน
การผลิตต้นแบบที่เรียบร้อยหมดจด คุณภาพทางสุนทรียภาพ
ความคิดสร้างสรรค์และการสื่อสาร
รวมถึงการจัดนิทรรศการนำเสนอผลงานของชั้นเรียน
--------------------------------------------------------------------
กิจกรรมเสริม
-> การเผยแพร่ผลงานและความคิดเห็นส่วนตัวสู่สาธารณะด้วยการใช้ บล็อค ส่วนตัว
-> จัดการสนทนาทางการออกแบบโดยนักศึกษาและวิทยากรรับเชิญ
-> สมุดบันทึกและการบันทึกเชิงภาพด้วยกล้องดิจิตอล
-> การสร้างเงื่อนไขให้เกิดการแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นแวดล้อมต่างๆ เช่น
การมอบหมายให้เป็นผู้อภิปรายเสรีหน้าชั้นเรียนในหัวเรื่องหรือประเด็นที่นักศึกษาสนใจ
-> การเรียนการสอนนอกสถานที่
--------------------------------------------------------------------
การประเมินผล
-> การเข้าชั้นเรียน (10 คะแนน)
-> การมีส่วนร่วมต่อชั้นเรียน กิจกรรมต่างๆ และทัศนคติในการเรียน (25 คะแนน)
-> การค้นคว้าและพัฒนาการของโครงการออกแบบ (25 คะแนน)
-> คุณภาพของผลงานการออกแบบ (25 คะแนน)
-> การนำเสนอผลงาน (15 คะแนน)
--------------------------------------------------------------------
--------------------------------------------------------------------

No comments: