December 16, 2008

| บทความจากสูจิบัตรนิทรรศการ Yes, I am Not โดย อนุทิน วงศ์สรรคกร |

นี่คือ“ข้อมูล”
This is data.
อนุทิน วงศ์สรรคกร
Anuthin Wongsunkakon

เรียบเรียงและแปลโดย เจิมศิริ เหลืองศุภภรณ์ และ ภูมิ รัตตวิศิษฐ์
Edited and Translated by Jermsiri Luangsupporn and Poom Rattavisit

16 May 2008
๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑

การส่งต่อของข้อมูลเป็นเรื่องที่เราคุ้นเคย และสามารถพบเห็นได้โดยทั่วไป โดยปรกติแล้ว ข้อมูลมักจะถูกแทนความหมายว่าเป็นสิ่งมีค่า ซึ่งมันจะไม่มีค่าเลยถ้าปราศจากผู้รับ
เพราะข้อมูลที่ไม่เกิดการส่งต่อ ก็จะทำให้ค่าของมันเป็นเพียงความลับ (ซึ่งในบางทีกลับถูกมองว่าเป็นข้อมูลที่มีค่ามากพิเศษ) หรือเป็นเพียงการบันทึกของผู้สร้างข้อมูล

ในทางกลับกันการสร้างข้อมูลต้องนำข้อมูลอื่นจากหลากแหล่งมาประกอบหรือเปรียบเทียบเพื่อนำมาสู่ข้อมูลใหม่ ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าสิ่งที่เรียกว่าข้อมูลนั้น
ตามธรรมชาติของมันคือการเปลี่ยนถ่ายและการแพร่กระจายตนเองอยู่แล้ว ถึงแม้จะถูกเก็บในรูปแบบความลับก็ตาม ในที่สุดก็ไม่อาจจะหนีพ้นข้อเท็จจริงนี้

การออกแบบไม่ว่าจะเป็นสาขาไหนก็ล้วนเป็นการกระจายข้อมูลเช่นกัน อาจจะเป็นในรูปแบบที่มากกว่าการพูดหรือการเขียนเพื่อสื่อสาร นักออกแบบที่ดีจึงน่าที่จะพูดและเขียนได้ดีด้วย
เพราะต้องนำมาประกอบกับการสื่อสารทางภาพ และการสื่อสารทางอารมณ์ผ่านผิวชั้นนอกของงานออกแบบซึ่งอยู่บนพื้นฐานของศิลปะ อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นการสื่อสารความรู้สึกทางด้านนามธรรม
ผ่านสี รูปทรง และองค์ประกอบอื่นๆ

นักออกแบบทุกวันนี้ยังมีปัญหาพื้นฐานที่เกี่ยวกับการพูดและเขียน ซึ่งเป็นรากที่แท้จริงของปัญหาการออกแบบที่พบเจอในชีวิตประจำวัน เรามักลืมไปว่างานออกแบบก็คือการสื่อสารชนิดหนึ่ง
เหตุที่ทำให้เราลืมๆ กันก็เพราะ การเกิดขึ้นเป็นนิจของรูปประโยคที่ไม่ดีแต่สุดท้ายมันก็ยังพอที่จะสื่อสารได้ จึงทำให้เส้นกั้นระหว่างความเป็นปัญหาและความไม่เป็นปัญหาดูไม่ชัดเจนไปอย่างถนัดใจ
ผนวกกับการที่เรามักใช้แนวคิดแบบรอมชอมเหมารวมเอาว่า “การออกแบบไม่มีถูกและไม่มีผิด” คำกล่าวอ้างความไม่ถูกแล้วก็ไม่ผิดนี้เอง ที่เป็นตัวลงโทษนักออกแบบอย่างเงียบๆ เสมอมา
การเป็นเหมือนคำสาปให้ทำอะไรก็ได้เพราะความไม่ชัดเจนของเส้นแบ่ง ซึ่งเราใช้ประโยคนี้จนเคยชินและเกิดการเพี้ยนทางความหมายและลักษณะการใช้

หากจะเปรียบเทียบข้อมูลเป็นเนื้อหา ข้อมูลก็คือแกนสำคัญ เป็นใจความที่จำเป็นต้องมีสิ่งที่มาบรรจุเพื่อการขนส่ง เปลือกนอกที่นำมาห่อ และจัดเตรียมเพื่อการขนส่งข้อมูล ก็คือการออกแบบนั่นเอง
ไม่ว่าจะเป็นแค่ปกรายงาน การเรียงหน้ากระดาษของเลขานุการ หรือการจัดบอร์ดในของนักเรียนมัธยม ไปจนถึงนักออกแบบอาชีพในบริษัทออกแบบชั้นนำ ก็ล้วนแล้วแต่อยู่บนหลักการเดียวกันนี้
หากจะต่างกันก็น่าจะเป็นที่ทักษะการนำเสนอ ซึ่งมีชั้นเชิงต่างกัน เพราะผู้ที่ผ่านการศึกษาการออกแบบย่อมได้เปรียบในเรื่องของการสร้างเปลือกที่สวยงาม

ขณะเดียวกันเราไม่ควรเข้าใจว่าหน้าที่ของนักออกแบบคือการสร้างเปลือก เพราะการที่จะสร้างสิ่งที่ใช้บรรจุอะไรสักอย่าง มันคงเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่ทำความรู้จักกับสิ่งของที่จะนำมาบรรจุภายใน
การทำความเข้าใจกับสิ่งที่จะนำมาบรรจุนี้เอง เป็นสิ่งที่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินทางการออกแบบ เพราะมันเป็นการนำมาซึ่งข้อแม้และเหตุผลของการออกแบบเปลือกนอกที่จะนำพาข้อมูลไปสู่จุดหมาย
ฉะนั้นนักออกแบบก็ควรที่จะมีความสามารถสูงในการจัดการกับข้อมูล แต่ในสภาพการเรียนการสอนออกแบบจริงๆ ในระดับอุดมศึกษา เรายังให้ความสำคัญกับส่วนนี้น้อยมาก

เมื่อการจัดการข้อมูลไม่ได้ประสิทธิภาพอย่างที่ควรจะเป็น จึงเกิดสิ่งที่เรียกว่าการสูญหายทางข้อมูล แต่เราอย่าสับสนกับการละข้อมูลบางส่วนที่คิดว่าไม่จำเป็นออก เพราะอาจจะทำให้เยิ่นเย้อ หรือเป็นสิ่งที่ไม่มี
ความจำเป็นที่ต้องสื่อสารด้วยเหตุผลทางการตลาด การสูญหายของข้อมูลกว่าเก้าสิบเปอร์เซ็นมาจากการที่นักออกแบบไม่มีความเชี่ยวชาญเพียงพอในการย่อยหรือย่อข้อมูล ในบางกรณีอาจจะควบรวมกับ
นักการตลาดที่มีวิสัยทัศน์แคบ เราจึงมักพบปัญหานี้ได้บ่อยๆ กับการบรีฟงานจากลูกค้า หรือตัวแทนลูกค้าสู่นักออกแบบหรือตัวแทนนักออกแบบ บางครั้งยิ่งเกิดการพูดคุยบ่อยครั้งหรือผ่านหลายบุคคล
ก็จะทำให้เกิดการผิดเพี้ยนของข้อมูล การย่อยและย่นย่อในขั้นการออกแบบก็จะมีปัญหา ยิ่งเจอนักออกแบบที่มีทักษะจัดการกับข้อมูลต่ำ ก็จะนำมาสู่โศกนาฏกรรมการสื่อสาร

หากจะเปรียบเทียบการสูญหายของข้อมูลให้เป็นภาพชัดเจน ก็คงไม่ต่างอะไรกับการเล่นเกมบอกต่อ เมื่อบอกต่อๆ กัน เราต้องพึ่งพาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่อาจจะเป็นข้อมูลมือสอง สาม หรือสี่
ยังไม่นับความน่าเชื่อถือของผู้ส่งสารเอง เมื่อจบเกมจึงมักพบว่าการโอนถ่ายของข้อมูลจากต้นทางสู่ปลายทาง เกิดความไม่ชัดเจนในผู้เล่นเกมคนใดคนหนึ่ง นำไปสู่ข้อความหรือใจความที่ผิดผลาด
เช่นเดียวกันกับชีวิตจริง การประชุมที่ดี ครั้งเดียวก็อาจจะเพียงพอกับการทำงาน และย่อมดีกว่าการประชุมหลายครั้งโดยเกินความจำเป็น

เมื่อข้อมูลมาถึงมือ นักออกแบบที่ดีควรมีคุณสมบัติในการชั่ง ตวง วัด เพื่อพิจารณาว่าสมเหตุผลหรือไม่ ฉะนั้นนักออกแบบจึงจำเป็นต้องมีทักษะความรู้ด้านอื่นๆ ด้วย เช่น ความรู้รอบตัว การตลาด
การประชาสัมพันธ์ และแน่นอน ทักษะทางการสื่อสาร(โดยอยู่บนพื้นฐานของสุนทรีย์) มิเช่นนั้นเราจะมองไม่เห็นความสมเหตุสมผล หรือการตกหล่นของข้อมูล หากนักออกแบบไม่สามารถพินิจวิเคราะห์
ก็คงไม่ต่างอะไรกับการรับงานมาแล้วก็ทำตามโจทย์ เสมือนว่าไม่ได้ใช้สมอง งานใดที่ดูเหมือนไม่ได้ใช้สมองก็จะถูกสังคมมองว่าเป็นงานที่ไม่ค่อยมีความสำคัญ อาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่การออกแบบ
(โดยเฉพาะการออกแบบสิ่งพิมพ์) ในบ้านเรา จึงถูกมองว่าเป็นเรื่องหรืออาชีพที่ไม่สำคัญเท่าไรนัก ดูเหมือนว่าใครจะทำก็ได้

ธรรมชาติของการถ่ายทอดข้อมูลอธิบายได้ดังนี้ การป้อนข้อมูลด้วยการสื่อสารทางวาจาผ่านการรับฟัง การรับฟังถูกบันทึกเป็นการเขียน การเขียนต้องอาศัยทักษะทางด้านภาษาเพื่อให้ข้อมูลคงสภาพเดิม
ได้มากที่สุด ผู้รับข้อมูลผ่านทางการบันทึกด้วยภาษาก็ต้องมีทักษะทางการอ่านและการทำความเข้าใจ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกัน จะเห็นได้ว่าหากทักษะการใช้ภาษาทั้งในด้านของทักษะการเขียนหรืออ่าน
ล้วนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการคงอยู่ของข้อมูลเดิม

เมื่อพิจารณาขั้นตอนการเดินทางของข้อมูลดังที่กล่าวมา เราจะพบว่าจุดอ่อนของการถ่ายเทข้อมูลอยู่ที่ตัวมนุษย์นั่นเอง ความผิดพลาด คลาดเคลื่อน ที่เกิดขึ้นจากทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ที่ไม่เท่ากัน
ยังไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดั้งเดิมโดยเจตนา อย่างเช่น การเสนอข่าวที่ตั้งอยู่บนความคิดเห็นส่วนตัว มีความคิดแบบปัจเจกหรืออคติเข้ามาผสม (bias) ก็จะทำให้ข้อมูลที่น่าจะเป็นข้อเท็จจริงไม่สามารถ
ข้ามผ่านมาได้ ผู้รับสารจึงต้องใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูลสูง และต้องมีการเปรียบเทียบแหล่งข้อมูล บวกกับข้อด้อยของภาษาที่ผู้รับสารต้องมีทักษะ ความเข้าใจและการตีความ
จึงเป็นช่องว่างให้เกิดการเล่นข่าว (spin) นักออกแบบหรือนักโฆษณาที่ต้องเลือกพูดเฉพาะข้อดีของลูกค้าและผลิตภัณฑ์ โดยการละข้อด้อยเพื่อให้ได้ผลที่ต้องการทางการตลาด
ก็นับว่าเป็นการเล่นกับข้อมูลเช่นเดียวกัน

มนุษย์เราจึงต้องใช้ประโยชน์จากการทำสำเนาข้อมูลให้ได้บันทึกทางภาษาเหมือนกันทุกครั้ง เพื่อลดปัญหาและข้อบกพร่องของมนุษย์ในการสื่อสารให้มากที่สุด เครื่องถ่ายเอกสารหรือแม้แต่ยูเอสบีไดรฟ์
ก็ถูกสร้างขึ้นบนคอนเซ็ปท์นี้ (ต่างกันก็เพียงพื้นฐานของสื่อที่อันหนึ่งเป็นแอนนาล็อคและอีกอันเป็นดิจิตอล) จะเห็นได้ว่านิตยสารหรือหนังสือพิมพ์ก็ใช้พื้นฐานนี้เช่นกันในการนำเสนอข้อมูล แต่เนื่องด้วยขั้นตอน
ก่อนการทำเป็นสำเนาอาจจะเกิดความบกพร่องจากการเล่นข่าวหรือจากอคติได้อยู่เสมอ ทั้งที่เกิดจากความตั้งใจและไม่ตั้งใจทางการตลาด ภาระจึงตกอยู่กับผู้รับสารเอง ที่ต้องใช้ความสามารถ
และระดับสติปัญญาส่วนตัวอย่างมากในการรับข้อมูล

การเก็บข้อมูลแบบดิจิตอลดูจะได้เปรียบเพราะมีข้อดีของการทำซ้ำได้เหมือนต้นฉบับทุกครั้ง จึงเป็นที่แพร่หลายอย่างมากในปัจจุบัน จนมีการกังวลกันว่าหากมนุษย์พึ่งพาการจัดเก็บข้อมูลและการบันทึกข้อมูล
ด้วยวิธีนี้มากยิ่งขึ้น แล้ววันใดเราเกิดสูญเสียความสามารถในการเรียกใช้ข้อมูลที่เป็นระบบดิจิตอล ข้อมูลก็อาจจะสูญหายได้อย่างง่ายดาย เราหาได้ฉุกคิดไม่ว่า ระบบการบันทึกแบบดิจิตอลนี้สามารถถูก
ดัดแปลงหรือแก้ไขได้ง่ายมาก และมันก็ไม่ได้คงทนถาวรเลย ที่จริงแล้วอายุของมีเดียอย่างซีดีรอมที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในปัจจุบันนั้นสั้นกว่าการสลักหินแบบโบราณเสียอีก

ในยุคของเทคโนโลยีการสื่อสาร (Information technology) ที่ก้าวหน้า การเคลื่อนย้ายข้อมูลหรือการสื่อสารเป็นไปได้อย่างง่ายดาย รวดเร็วและมีอิสระมากขึ้น บุคคลทั่วไปสามารถตีพิมพ์หรือ
เผยแพร่ข้อมูลได้อย่างอิสระ ดังจะเห็นได้จากปรากฏการณ์ของเวบล็อคที่ได้สร้างเนื้อหาให้กับอินเทอร์เน็ตอย่างมากมาย แม้กระทั่งนิตยสารไทม์ยังยกย่องให้ผู้อ่านทุกคน ที่เป็นผู้ร่วมสร้างเนื้อหาให้กับ
อินเทอร์เน็ตเป็นบุคคลแห่งปี แถมท้ายด้วยปัจจัยในเรื่องของจำนวนผู้ที่ใช้อีเมลล์ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นมาโดยตลอดในช่วงสิบปีที่ผ่านมา

จากความง่ายในการกระจายข้อมูลดังกล่าว จึงทำให้ผู้รับสารในยุคปัจจุบันต้องใช้การกลั่นกรองข้อมูลมากเป็นพิเศษ เพราะกระบวนการของการตระเตรียมข้อมูลมีน้อยลง เวลาตรวจทานเพื่อให้ได้ข้อมูลเพื่อ
การสื่อที่มีประสิทธิภาพ ถูกตัดทอนมาสู่การกดเพื่อตีพิมพ์ในหน้าเวบล็อคด้วยเวลาเพียงแค่อึดใจของคนคนเดียว สรุปได้ว่าผู้รับสารจึงต้องใช้เหตุและผลสูงขึ้นในการรับสาร แต่ดูเหมือนว่าทักษะการรับสาร
ของมนุษย์เราไม่ได้พัฒนาไปตามพัฒนาการของการสื่อสาร วิจารณญาณในการเสพข้อมูลยังคงอยู่ในระดับเดิม จึงนำมาสู่ปัญหาความไม่เข้าใจในสังคมหลากหลายประการ

มนุษย์เป็นผู้สร้างข้อมูล ภาษา และตัวอักษรเพื่อเป็นตัวกลางในการการสื่อสาร จึงทำให้เกิดเป็นสังคม ซึ่งตั้งแต่มีมนุษย์สังคมก็ถูกขับเคลื่อนด้วยข้อมูลต่างๆ เป็นวิธีที่ทำให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยี
การค้า ศิลปะ ดนตรี การออกแบบ และอีกมากมาย หากมองเรื่องนี้อย่างเข้าใจ เราจะพบว่าความรู้เหล่านี้ก็เป็นอีกรูปแบบของภาษาที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อการสื่อสารและการถ่ายเทข้อมูล

อาจกล่าวได้ว่าการเคลื่อนที่ของข้อมูลก็คือการสื่อสารนั่นเอง ผู้ที่ทำให้ข้อมูลเคลื่อนที่ก็คือมนุษย์ การเคลื่อนที่ของข้อมูลก็คือธรรมชาติของการเป็นสังคม และในเมื่อเราทราบแล้วว่าจุดอ่อนของการเคลื่อนที่ของ
ข้อมูลคือที่ตัวมนุษย์เอง ไม่ว่าเราจะสร้างวิทยาการใหม่ สร้างเครื่องมือใหม่ที่ทำให้การถ่ายเทข้อมูลมีประสิทธิภาพเพียงใด ก็คงไม่เกิดประโยชน์ หากเราไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่ตัวมนุษย์เองได้

ความสามารถในการรับสาร ที่เป็นตัวกำหนดว่าการสื่อสารด้วยความฉลาดระดับไหนจึงจะเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย การใช้ภาษาไม่ว่าจะเป็นภาษาทางภาษาศาสตร์ หรือภาษาทางการออกแบบ
ล้วนมีความจำเป็นต้องสอดคล้องกับผู้รับสาร

ฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่า สังคมใดที่สมาชิกมีความสามารถในการรับและถ่ายเทข้อมูลต่ำ เป็นสังคมที่ต้องพัฒนาด้านการศึกษาทุกแขนง สังเกตุได้จากการออกแบบซึ่งเป็นตัวสะท้อนระดับของความสามารถ
ในการรับข้อมูลอย่างหนึ่ง เป็นมาตรวัดที่ค่อนข้างเที่ยงตรงที่ทำให้เห็นภาพโดยรวม วัดได้จากทักษะและลักษณะการใช้ภาษาทางการออกแบบที่มีความจำเป็นต้องเหมาะสมกับสังคมนั้นๆ

หากคลุมเครือเอาใจนักออกแบบกันเอง ก็อาจจะอนุมานว่านักออกแบบไม่สามารถเพิ่มทักษะในการออกแบบสื่อสารสูงกว่าที่เป็น เพราะถูกกำหนดจากสภาพแวดล้อมของสังคมโดยรวม
ในกรณีนี้คือการไม่เท่าเทียมกันทางการสื่อสาร เกิดความล้มเหลวในเชิงการออกแบบการสื่อสารนั่นเอง

-------------------------

The transfer of data is something we all are familiar with. Data is valuable only to the extent that it is delivered properly. When there is no receiver, it will lose its worth
(sometimes, however, it is the opposite, and such data becomes invaluable) or will just remain as a record of the creator.

A new data is formed by assembling and organizing pieces of data from different sources. As you can see, it is the nature of data to be transform and transmit. Even if it
remains 'hidden', it cannot hide from this fact.

Every form of design conveys some kind of message. That message or data is transferred artistically, or rather abstractly, through colors, shapes, and other elements. It
extends beyond spoken and written words; therefore, it is important that designers are able to speak and write competently since they need to communicate on a visual
level.

Even today, designers still couldn't speak or write well. It may be the root of all problems in the current design community. Designers often forget that it is their job to
communicate, possibly because of incorrect interpretation through ambiguous messages, making the line between right and wrong unclear. Moreover, the renowned
phrase, "There is no right or wrong in design," keeps designers in a whirlpool of uncertainty. We hear and use it too frequently, so often that its meanings and implications
become distorted.

If data is a product, it needs an appropriate packaging before it could be delivered. The process of creating such packaging is design. No matter if it is a cover design, a
layout of a page, an arrangement of a bulletin board by a high school student, or a well-crafted piece of design by a professional designer, they are all based on the same
principle. The difference may only be in the skill and proficiency of the person responsible.

Nevertheless, design is not just a decoration of the exterior. In order to create an appropriate package, the designer must study the product inside and out. Only when the
designer fully understand it, can he/she justifies his/her work. Thus it is essential that the designer is able to organize the data intelligently. In reality, however, many
design schools still ignore this simple idea.

When data is organized inefficiently, some pieces of data become lost. Lost, in this sense, does not mean trimming out the excessive parts - those that are insignificant
and make the message unnecessarily long. More than 90% of the data that has been lost is caused by the designer who is unable to organize it intelligently. Sometimes,
narrow-minded clients can accentuate the problem. In addition, if there is a representative, whether on the designer's or the client's part, chances are that data will be lost
on the way to the intended receiver. As a result, the process of design will be affected unintentionally and if the designer does not know how to sort it out, it will be a
catastrophe.

Think of the game, 'Whisper Down the Lane', it is an excellent example of data loss. Each player has to depend on a source that is second-hand, third-hand, or even
forth-hand, and sometimes the original source itself is inaccurate. At the end of the game, there is usually a loss of data caused by someone mishearing the message. The
same applies to the business world. If everything went smoothly, one well-organized meeting may be enough, and of course, it is better than having too many.

When designer receives the data, he/she must be able to separate the necessary from the unnecessary; therefore it is important that he/she is considerably knowledgeable
in areas such as marketing, public relations, communication, and other related fields but still on the basis of aesthetics. Designing without proper understanding is no
different than answering a question without thinking. When one answers without thinking, the answer becomes insignificant. It might be the main reason why this country
does not see the importance of professional designers.

A basic process of communication can be illustrated in the following way: A message is spoken to a listener. The listener jots it down using his writing skills. The reader
then uses his reading skills to analyze and comprehend the written data. In order to preserve the original data under these circumstances, language skills are obviously
indispensable.

Looking at it carefully, humans are the flaw of data transmission. Whatever we do, whether if it is speaking, listening, or writing, there is always a possibility of data loss.
We cannot argue with the fact that every person is on a different level of literacy. Moreover, personal opinions and viewpoints will certainly bias the original message. An
obvious example would be a news reporter speaking his/her voice while reporting to the public. When the receiver is incapable of capturing the essence of the message,
he/she unintentionally welcomes a spin. The way designers and advertisers extract and present only the benefits of a product can also be considered a type of spin.

To minimize data loss, humans need to make back up copies. Photocopy machines and USB flash drive both operate on this basis (only that one is an analog system while
the other, a digital). Magazines and newspapers also work with this idea, however, there are still chances that the data could be intentionally or unintentionally modified
prior to the back up process. In the end, it is up to the receiver to organized the final data.

The good thing about backing up digitally is that every copy is exactly the same since what is recorded are merely numbers. It is widely used nowadays, wide enough to
make us forget that we might one day unable to retrieve the stored data. Digital back up is simple and economical while at the same time can be effortlessly cracked and
modified. It comes easily and goes easily as well. A disc cannot outlive a carved stone.

In the age of information technology, the world becomes smaller and data moves faster and more freely. This phenomenon is clearly evident in weblogs where anyone can
publicize almost anything they want. Even Times Magazine honored every reader who contribute to the internet to be man of the year. Email is another great example, we
could see that the number of users constantly increases for the past ten years.

The faster data is fed, the more difficult it is for the reader to digest. Since there is a shorter time frame between the creation of the data and its publication, the extraction
process becomes rougher. Decades ago, it took days before something could be printed and publicized. Now, if takes only a single click. Our ability to receive information
should develop in parallel to technology, but sadly, it does not. We remain more or less static. Many misunderstandings in society today is a result of this condition.

In the beginning, humans created language for the purpose of communication which led to the formation of a community. Everyday we are driven by data. It is the way the
world moves. If we look at it carefully, technology, business, art, music, design etc. are all languages in disguise. They are made to communicate one way or another.

One could say that the movement of data is communication. Humans cause this movement and this is the nature of society. We know that if there is a flaw in
communication, it is in us, humans. No matter how far the medium in which data travel develops, we cannot use it efficiently until we solve our own problems.

When we create a piece of data, we need to know where our receiver stands. Not everyone is smart or foolish enough to grasp any message. Whether if it is a written or
graphic language, they should both sympathize with the receiver's educational level.

Any society that has difficulties with the flow of communication should improve their education in all areas. Design is one perfect judge in this situation. It needs to work
on the same level as the receiver, otherwise the intended message will not be delivered properly.

When the level of education is low, it pulls everything down with it. Many designers wish to contribute something to the flow of communication, to make it better. They are,
however, confined within the boundaries of a conservative society. Stepping out of those sensitive bounds may lead to a failure in communication.

No comments: