December 16, 2008

| บทความจากสูจิบัตรนิทรรศการ Yes, I am Not โดย ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา |

หน้าซองของเตี่ย
ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา

เตี่ยผมเป็นคนจีนแต้จิ๋ว ความที่ต้องอพยพหลบหนีสงครามกลางเมืองและความอดอยากมาสยามพร้อมกับเตี่ยของแก(อากงของผม) ตั้งแต่เด็ก ทำให้เตี่ยไม่มีโอกาสได้เล่าเรียนหนังสือมากนัก
หนังสือจีนพออ่านออกเขียนได้ ส่วนหนังสือไทยนั้น เทียบชั้นแล้วก็คงประมาณประถมสี่ แม้เตี่ยจะเขียนจดหมายสั่งของจากกรุงเทพฯได้ เขียนใบส่งของคล่อง รวมทั้งบันทึกบัญชีค่าใช้จ่าย
ในร้านขายของเล็กๆ ของแกได้อย่างถี่ถ้วน แต่ลึกๆ แล้ว ผมเชื่อว่า แกไม่เคยพอใจในลายมือของแกเลย ลายมือภาษาไทยของเตี่ยตัวหวัดใหญ่ ครูที่โรงเรียนผมเรียกว่าตัวเท่าหม้อแกง
นอกจากจะมีอารมณ์ประชดประชันผสมอารมณ์ขันแล้ว ผมคิดว่ายังมีอารมณ์หยันปะปนอยู่เล็กน้อย เตี่ยเองก็คงพอรู้จักลายมือของตัวเองดีว่ามีข้ออ่อนอย่างไร เวลาจะไปงานศพหรืองานแต่งใครต่อใครในตลาด
เตี่ยจึงเรียกใช้บริการผมให้ช่วยไปหยิบซองจดหมายในตู้หน้าบ้านมาเขียนชื่อแกตัวใหญ่ๆ พร้อมนามสกุลยาวๆ ที่ด้านหน้าทุกครั้งไป แม้ผมจะเขียนด้วยความตั้งใจเพื่อให้ชื่อและนามสกุลของเตี่ยงามสง่า
แต่ก็ใช่จะว่าจะสร้างความพอใจให้กับเตี่ยได้ทุกครั้ง บางครั้งที่แกเห็นว่าเขียนสวย แกก็จะเอาเงินใส่ซอง พับซองใส่กระเป๋า แล้วออกจากบ้านไปโดยไม่บ่นไม่ชมอะไร แต่บางครั้งด้วยลายมือเดียวกัน
แกกลับเห็นว่าไม่สวย เขียนเป็นเล่นไป แกก็จะให้เขียนใหม่จนกว่าแกจะพอใจ สามซองบ้าง สี่ซองบ้าง ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้ายังไม่ถูกใจอีก แกก็จะเริ่มหงุดหงิดและแก้ปัญหาด้วยการลงมือเขียนด้วยลายมือหวัดๆ
เท่าหม้อแกงของแกเอง

ถ้าให้ผมเดา ในความคิดของเตี่ย ลายมือที่ใหญ่หวัดอ่านยาก หาใช่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวอย่างที่คนยุคปัจจุบันเชิดชู หากแต่เป็นความไม่สุภาพ ไม่เหมาะสมที่จะปรากฏต่อสาธารณะในวาระสำคัญ
ทั้งๆ ที่คนอ่านมันก็มีอยู่เพียงไม่กี่คน คนรับเงินหน้างานหนึ่ง เจ้าของงานตัวจริงอีกหนึ่งหรือสอง รวมไม่เกินสาม อาจจะน้อยกว่าหรือเท่ากับคนอ่านใบส่งของของเตี่ยด้วยซ้ำ แต่ในเมื่อมันเป็นงานแต่งและงานศพ
ที่ดูศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากมีคนทั้งตลาดไปร่วมชุมนุมกันอยู่ ลายมือหน้าซองจึงจำเป็นต้องเรียบหรู เหมือนลายมือที่นักเรียนถูกครูบังคับให้คัดไทยในชั่วโมงเรียนชั้นประถม โดยมีครูภาษาไทยสูงวัยดุๆ เป็นต้นแบบ
ลายมือนี้สำหรับคนรุ่นผม-ถ้ายังจำกันได้ ออกจะมีเส้นสายคล้ายลายไทย ปลายหางตวัดเล็กน้อย พบเห็นได้ในวุฒิบัตรการศึกษาทั่วประเทศ แม้จะสวยงามอ่อนช้อย แต่ในชีวิตจริงก็ยากที่จะมีคนเขียนหนังสือ
ด้วยลายมือเช่นนี้ แม้แต่ครูภาษาไทยที่เนี้ยบๆ ก็ยังต้องยอมปรับเปลี่ยนลายมือบนกระดานดำให้สอดคล้องกับการใช้งานจริง อันเป็นลีลาเฉพาะตัวซึ่งเกิดจากส่วนผสมทางเคมีของความคิดและส่วนผสมทางฟิสิกส์
ของการเคลื่อนไหวร่างกาย ลายมือภาษาไทยของแต่ละคนจึงแตกต่างกันไป จนเกิดเป็นสไตล์การเขียนนับแสนนับล้านในหนึ่งภาษา หากทว่าสามารถสื่อสารกันได้อย่างไม่ขัดเขิน
จากลายมือแบบคัดไทยมาตรฐาน เมื่อนักเรียนรุ่นผมได้เรียนวิชาเขียนแบบเมื่ออยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่หนึ่ง ความเอาจริงเอาจังของครูผู้สอน คือ อาจารย์นิคม ไทยบำรุงวิวัฒน์(ผู้ล่วงลับ)
ได้เป็นแรงบันดาลใจให้นักเรียนในชั้นมีการปรับเปลี่ยนลายมือกันยกใหญ่ นอกจากหัดให้พวกเราเขียนภาพเปอร์สเปคตีฟแล้ว อาจารย์นิคมยังสอนให้พวกเราคัดลายมือในสไตล์ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในการเขียนประกอบ
แบบทางสถาปัตยกรรม คัดซ้ำๆ อยู่หลายๆ ครั้งเข้า ผมพบว่าลายมือของเพื่อนนักเรียนร่วมชั้นหลายคน รวมทั้งตัวผมเองด้วย เริ่มเปลี่ยนไป โดยได้รับอิทธิพลจากตัวอักษรที่ใช้ในการเขียนแบบโดยตรง
แม้ลายละเอียดของเส้นสายจะต่างกัน แต่เมื่อจับสไตล์โดยรวมแล้ว ก็ทำให้มองเห็นว่าลายมือของคนเกือบทั้งห้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลจากสำนักเดียวกัน คือสำนักเขียนแบบของอาจารย์นิคม

กระนั้น ลายมือแบบนิคมก็ใช่ว่าจะอยู่ในความนิยมนาน เมื่อขึ้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่สอง ความโด่งดังของภาพยนตร์ที่กำกับโดย ศุภักษร นอกจากจะสร้างกระแสให้กับวงดนตรีอย่างแม็คอินทอช
นางเอกภาพยนตร์อย่างคุณอรพรรณ พานทองแล้ว กระแสหนังสือชุดนิยายรักนักศึกษา รวมทั้งหนังสือในลีลาเดียวกัน ได้นำลายมือหวานแหววกุ๊กกิ๊ก ตัวกลมมนน่ารักเข้าสู่บ้านเกิดผมอย่างรวดเร็ว
จากฟอนต์นิคม เพื่อนสาวในห้องผมปรับเปลี่ยนลายมือเป็นฟอนต์ศุภักษรกันถ้วนหน้า ตั้งแต่ในยุคที่เรายังไม่รู้จักคำว่า ฟอนต์ ยิ่งเมื่อขึ้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่สาม เราได้มีโอกาสต้อนรับเพื่อนใหม่ซึ่งเดินทางจากกรุงเทพฯ
มาเข้าเรียนกับเราในช่วงต้นปี เธอได้นำเอากระแสการเขียนลายมือใหม่ๆ ซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่เด็กกรุงเทพฯ เข้าสู่ห้องเรียนของเราอย่างรวดเร็ว-ทั้งฟอนต์ภาษาไทยวัยหวาน และฟอนต์ภาษาอังกฤษน่ารักทั้งหลาย-
จนคนทั้งห้องแทบจะเขียนภาษาอังกฤษด้วยลายมือเดียวกันไปหมดเมื่อต้องทำบัตรคำศัพท์ออกไปโชว์หน้าชั้น (ถ้าไม่นับว่ากว่าครึ่งห้องไม่ยอมทำ แต่อาศัยหยิบยืมกันจนศัพท์ซ้ำและอาจารย์งอน)

ทั้งหมดนี้แม้จะเป็นฟอนต์(ลายมือ)ยอดนิยม แต่ก็คงไม่เป็นที่สบอารมณ์ครูภาษาไทยเท่าไหร่นัก แม้จะอ่านออกอย่างชัดเจน แต่ด้วยลีลาที่แฝงความขี้เล่นจากความกลมมนของตัวอักษร
ก็ทำให้ลายมือเช่นนี้ไม่เคยได้รับอนุญาตให้ปรากฏอยู่ในวุฒิบัตรการศึกษา เรายังคงใช้บริการครูภาษาไทย ผู้สละเวลายามค่ำหลังเลิกสอน นั่งคัดชื่อและนามสกุลของนักเรียนแต่ละคนผู้จบการศึกษาในแต่ละปี
ด้วยปากกาหมึกซึมแท่งใหญ่อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย

ในอำเภอบ้านผม นอกจากครูภาษาไทยแล้ว ครูสอนศิลปะสามสี่คนในระดับชั้นประถมและมัธยม ได้กลายมาเป็นผู้มีอิทธิพลกับรูปแบบตัวอักษรของผู้คนทั้งตลาดอย่างไม่ต้องสงสัย เมื่อมีงานวัด งานประจำปี
หรือขบวนรถแห่ครั้งใด ครูสามสี่คนนี้จะถูกเรียกตัวมาหน้าอำเภอเพื่อเขียนป้ายด้วยพู่กันปากตัด เป็นตัวอักษรคัดไทยแบบที่พบได้ตามงานวัดและป้ายประกาศของทางราชการ
อันเกือบจะเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ

ผมเคยขี่จักรยานไปนั่งดูครูของผมช่วยกันเขียนป้าย แม้จะอยู่ต่างโรงเรียนแต่ทั้งหมดล้วนรู้จักกัน เพราะบ้านเราเป็นอำเภอเล็กๆ ครูโรงเรียนประถมมีครูวิสูตรกับครูอำนวย ครูมัธยมมีอาจารย์ทวนทองมาช่วยเขียน
เป็นบางครั้ง ครูวิสูตรนั้นสอนศิลปะที่โรงเรียนเทศบาล เมียครูวิสูตรทำขนมหวานอร่อยมาก แกจะนั่งทำขนมตอนเช้า แล้วก็หาบมาขายตามบ้านตอนสายๆ ที่ผมจำได้ก็มีกล้วยเชื่อมสีน้ำตาลแดงไม่อ่อนไม่แข็ง
แต่เคี่ยวกับน้ำตาลจนสุกได้ที่ สีแดงเข้าไปถึงเนื้อใน เรียกว่าหาใครในตลาดทาบฝีมือด้วยยาก นอกจากนี้ แกยังมีทีเด็ดที่ข้าวมันส้มตำขายคู่กัน แต่แม่ผมชอบซื้อเฉพาะข้าวมันเท่านั้น ขนาดกินข้าวมันเปล่าๆ
ยังจำรสมือและกลิ่นหอมอ่อนๆ เมื่อทำใหม่ๆ มาได้ถึงทุกวันนี้ เสียดายที่ส้มตำเป็นของต้องห้ามสำหรับแม่ผู้รักความสะอาดเป็นชีวิตจิตใจของผม รสชาติส้มตำจึงหายไปจากความทรงจำวัยเยาว์
ทำให้ผมมิได้พิสมัยส้มตำไทยใส่ปู เหมือนกับหญิงไทยทั่วประเทศ หากแต่ยังพอจำได้ถึงลายมือของครูวิสูตรและข้าวมันของเมียแก

ส่วนครูอำนวย ซึ่งเราควรจะเรียกแกว่าอาจารย์มากกว่า เพราะครูสำรวยซึ่งเป็นครูภาษาไทยของผมสอนมาว่าอย่างนั้น แต่ก็ไม่ยักจะมีคนในตลาดเรียกแกว่าอาจารย์ ทุกคนก็ยังคงเรียกแกว่าครูอำนวยอยู่นั่นเอง
ครูอำนวยเช่าห้องแถวอยู่ในย่านตลาดเก่าติดกับบ้านเพื่อนผม บางครั้งผมจึงมีโอกาสเข้านอกออกในบ้านโล่งๆ ของแกได้ ในบ้านนอกจากข้าวของเครื่องครัวตามปกติแล้ว ยังมีหนังสือการ์ตูนกองใหญ่ของลูกสาว
ซึ่งแกซื้อให้อ่านอย่างไม่เสียดายเงิน

ความที่แกกับเมียหลวงไม่มีลูก เมียหลวงจึงอนุญาตให้แกหาเมียน้อยมาอยู่ร่วมกันในบ้านได้ อยู่มาเรื่อยๆ เมียน้อยก็คลอดลูกสาวให้แกหนึ่งคน ทั้งสองเมียช่วยกันเลี้ยงลูกเล็ก แต่ดูเหมือนเมียหลวงจะรักเด็กมากกว่า
บ้านทั้งบ้าน แม้จะมีสองเมียแต่กลับอยู่ร่วมกันมาได้อย่างสงบสุขโดยไม่มีการทะเลาะเบาะแว้งให้เห็น นอกจากจะลายมือสวยแล้ว ผมคิดว่าครูอำนวยน่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาช่องไฟ
ทั้งในระหว่างตัวอักษรและในการใช้ชีวิตคู่(หรือคี่) อย่างยากที่จะหาผู้คนในตลาดเทียบเคียงเช่นกัน ทั้งสองคนเป็นครู ด้วยเหตุผลที่สอนชั้นประถม เพราะพอถึงชั้นมัธยมเราได้เปลี่ยนครูมาเป็นอาจารย์เสียทั้งโรงเรียน
อาจารย์ทวนทองจึงเป็นอาจารย์สอนศิลปะอยู่คนเดียวโดยไม่ได้เป็นครูเหมือนกับอีกสองคน ด้วยเหตุผลนี้นอกจากวาดรูปเก่งแล้ว แกยังรวมตัวกับเพื่อนครูตั้งวงดนตรี ที่ทั้งอำเภอมีอยู่วงเดียว ทั้งงานแต่ง งานคริสต์มาส
งานปีใหม่ งานโรงเรียนก็เป็นวงนี้วงเดียวที่ผูกขาดเล่นอยู่ เด็กรุ่นผมจึงเติบโตมาด้วยวงดนตรีของแก ที่เราเฝ้าติดตามอยู่หน้าเวทีปีแล้วปีเล่า จนกระทั่งจบมัธยมต้นและเข้ามาเรียนต่อในเมืองหลวงสองสามปีหลังกรุงเทพฯ
มีอายุครบสองร้อย

นับถึงวันนี้ ผมจากบ้านมาเรียนหนังสือและทำงานนานกว่ายี่สิบปีแล้ว เมื่อเข้าเรียนที่จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีของผมเป็นสถานที่แรกๆ ในประเทศไทยที่มีคอมพิวเตอร์รุ่นบุกเบิกใช้
(คอมพิวเตอร์รุ่นนี้สมควรอยู่ในพิพิธภัณฑ์ที่ใดที่หนึ่ง-ถ้าประเทศเราจะมีสถานที่ที่ว่านั้น) ในสมัยผมเป็นนักศึกษา อย่าว่าแต่โน้ตบุ๊ค แม้แต่คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะก็ยังมีใช้เพียงไม่กี่คน เวลาจะพิมพ์รายงานส่ง
ถ้าไม่ใช้พิมพ์ดีดก็ต้องไปอาศัยห้องคอมพิวเตอร์ของคณะ โดยมีซียู-เวิร์ด ไม่ใช่ไมโครซอฟต์ เวิร์ดเป็นโปรแกรมสำหรับการพิมพ์ โปรแกรมนี้เวลาเปิดหน้าจอจะมีเพลง ‘มหาจุฬาลงกรณ์’ ที่ร้องว่า น้ำใจน้องพี่สีชมพู
เป็นเมโลดีนำหน้ามาก่อน ส่วนฟอนต์เองก็ไม่ได้มีให้เลือกมากมายอย่างเช่นทุกวันนี้ เท่าที่จำได้น่าจะเป็นฟอนต์มาตรฐานไม่ต่างจากตัวคัดลายมือสวยๆ ที่พวกเราล้วนคุ้นเคยจากวัยเยาว์

เมื่อผมเข้าทำงานเป็นผู้สื่อข่าวที่หนังสือพิมพ์ผู้จัดการราวปี 2535 ทั้งกองบรรณาธิการได้เปลี่ยนมาใช้คอมพิวเตอร์แม็คอินทอชในการพิมพ์งานและจัดหน้าแล้ว (จากวงดนตรียอดฮิตสมัยวัยรุ่นกลายมาเป็นคอมพิวเตอร์
ยอดนิยมได้อย่างไร-เรื่องนี้น่าสงสัยอยู่) แม็คอินทอชรุ่นนั้นสีเทาๆ ตัวไม่ใหญ่มาก แต่ใช้งานได้คล่องแคล่วและเริ่มมีฟอนต์ให้เลือกหลายรูปแบบ รวมทั้งมีโปรแกรมเวิร์ดที่เราสามารถกำหนด ตัวเอน ตัวหนา
ขีดเส้นใต้ได้อย่างง่ายดายด้วยการคลิกเลือก วิธีการเขียนข่าวโดยการใช้เทคนิคตัวเอน ตัวหนา และขีดเส้นใต้ จึงเกิดขึ้นในยุคนี้ ภายใต้การกำหนดสไตล์ของกลุ่มผู้จัดการ ผู้มักชอบใส่เครื่องหมายตกใจ (!!!!)
หลายๆ อัน หลังประโยค รวมทั้งเครื่องหมายคำถามสลับกับเครื่องหมายตกใจ (?!?) หลังพาดหัวข่าว ผมเองก็ติดใช้ทั้งเครื่องหมายตกใจและเครื่องหมายคำถามอยู่พักใหญ่
ต่อเมื่อออกมาผจญโลกกว้างจนเริ่มหายขวัญอ่อนแล้ว เครื่องหมายตกใจก็แทบไม่เคยปรากฏอีกเลยในงานเขียน เช่นเดียวกับเครื่องหมายคำถาม ที่หลายครั้ง แม้จะเป็นประโยคคำถาม แต่ก็ไม่คิดอยากจะใส่

วิธีการเล่นกับเทคนิคตัวอักษรนี้ ครั้งหนึ่งหนังสือพิมพ์สยามรัฐก็เคยใช้กับคอลัมน์ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ทั้งในคอลัมน์หน้าห้าและในคอลัมน์ซอยสวนพลู เพียงแต่ในยุคนั้น เมื่อยังไม่มีคอมพิวเตอร์ก็ต้องใช้การขึ้น
ย่อหน้าใหม่บ่อยๆ ให้ถี่กว่าปกติ เพื่อกำหนดจังหวะของการอ่านให้มีลูกล่อลูกชนมากกว่าปล่อยเรื่องให้ไหลยาวเป็นพรืด รวมทั้งใช้ขนาดของตัวอักษรที่ต่างกันตามขนาดของตัวเรียงพิมพ์ เพื่อกำหนดน้ำหนักอ่อนแก่ของ
แต่ละประโยค เช่นเดียวกับการใช้ตัวเอนและตัวหนา การอ่านคอลัมน์ของอาจารย์คึกฤทธิ์จึงได้อรรถรสมากกว่าคอลัมน์ทั่วไป เพราะนอกจากปัญญาและภาษาแล้ว ยังเป็นผลมาจากการใช้เทคนิคทางตัวอักษร
ของผู้เรียงพิมพ์ ซึ่งช่วยให้คอลัมน์มีทั้งหมัดแย็บและหมัดฮุค รวมทั้งมีหมัดน็อคตัวหนาซึ่งมักใช้ตอนจบเรื่อง จนกลายเป็นลีลางานเขียนของอาจารย์คึกซึ่งยังคงออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทของนักเขียนรุ่นใหม่มาจนถึงทุกวันนี้

ผมเองเพิ่งเสร็จจากการพิมพ์หนังสือที่คุณ ‘รงค์ วงษ์สววรค์ เขียนถึงอาจารย์คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ชื่อ คึกฤทธิ์ ปราโมช ในเงาเวลาของ ‘รงค์ วงษ์สวรรค์ ทำให้ได้มีโอกาสเห็นลายมือภาษาไทยแท้ๆ ของอาจารย์คึกฤทธิ์
รวมทั้งลายมือภาษาไทยที่ใช้ในการจ่าหน้าซองต้นฉบับของคุณรงค์ วงษ์สวรรค์ อันประณีตและงดงาม ลายมือเหล่านี้บ่งบอกถึงความเป็นผู้มีการศึกษา จังหวะและลีลาย่อมแตกต่างไปจากลายมือของคนจีนโพ้นทะเล
ผู้ไม่เคยได้รับการศึกษาในระดับสูง แม้คุณ ’รงค์จะยังคงรักษาเอกลักษณ์ในการเขียนต้นฉบับด้วยพิมพ์ดีดมาจนถึงทุกวันนี้ หากแต่หลายครั้งคุณ ‘รงค์ก็ยังคงเลือกจะสื่อความถึงผู้อื่นด้วยการเขียนลายมือ
แม้สำนวนภาษาของ ‘รงค์ วงษ์สวรรค์จะกวนใจครูภาษาไทยของประเทศ หากแต่ลายมือของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์กลับชัดเจนอ่านง่าย แถมยังมีสไตล์ร่วมสมัยเป็นอย่างยิ่ง แม้จะไม่ได้เหมาะสำหรับการเขียนป้ายหน้าอำเภอ
หรือประกาศงานวัด หากแต่มันก็มีพลังเพียงพอที่จะหยุดยั้งสายตาของผู้มาเยือนห้องทำงานของผมได้แทบทุกคน ทั้งๆ ที่มันเป็นเพียงตัวอักษรบนซองจดหมายขนาดใหญ่ ที่จ่าหน้าซองถึงผู้รับที่ไม่ได้มีความสลักสำคัญ
ใดๆ เท่ากับผู้ส่ง ซึ่งนอกจากจะเป็นนักเขียนใหญ่แล้ว ยังเป็นครูภาษายุคใหม่-ผู้เป็นแรงบันดาลใจให้กับนักเขียนครึ่งค่อนประเทศ

เมื่ออาจารย์คึกฤทธิ์ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อปี 2538 ผมไปร่วมงานศพวันแรกในฐานะนักข่าวหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ โดยพาช่างภาพต่างประเทศไปถ่ายภาพด้วยกันที่วัดเบญจมบพิตร งานศพถูกจัดอย่างเรียบหรู
ในวัดหลวงตามฐานานุรูปของท่านผู้ล่วงลับ หนังสืองานศพจัดพิมพ์อย่างประณีต เช่นเดียวกับหนังสือที่ระลึกในวันคล้ายวันเกิดของท่าน ซึ่งมักมีภาพสวยๆ และลายเซ็นหวัดๆ ที่คนไทยทั้งประเทศรู้จักดี ผมแวะไป
เยี่ยมเยียนคุณ ‘รงค์ในอีกหลายปีต่อมา เมื่อครั้งที่ได้หันมาทำหนังสือเล่มเป็นอาชีพ คุณ ’รงค์ เจ็บกระเสาะจนต้องพักงานเขียน หากแต่ด้วยแรงบันดาลใจจากเพื่อนหนุ่ม เช่น ปราบดา หยุ่น ทำให้งานเขียนชิ้นแรก
หลังป่วยกลับมาปรากฏตัวอีกครั้งในหนังสือ open house ที่ผมและสหายร่วมกันคิดและผลิตขึ้นมาตามแนวทางเก่าๆ ที่คุณ’ รงค์เคยแผ้วถางไว้ในอดีต ทุกวันนี้ คุณ'รงค์ยังคงโทรศัพท์มาถามข่าวคราวในบางวัน
รวมทั้งวันที่เตี่ยผมจากไป เมื่อปลายปีที่แล้ว

เตี่ยผมเสียชีวิตด้วยโรคชราในวัย 85 แม้จะมีพี่น้องบางคนเสียน้ำตา แต่เราก็ไม่ได้เสียใจมากนัก เพราะคิดว่าเตี่ยเดินทางมายาวนาน และน่าจะเหมาะสมกับการพักผ่อน โดยไม่ต้องกังวลกับการตื่นเช้ามาเปิดร้าน
อีกต่อไป ความที่ขายของมานาน ไปร่วมงานศพงานแต่งมามาก เท่ากับจำนวนซองที่ผม พี่น้อง และเตี่ยเขียนชื่อตัวเองลงไป แต่ละวันจึงมีผู้มาร่วมงานศพเล็กๆ ของเตี่ยที่ลูกหลานช่วยกันจัดให้ตามอัตภาพของอำเภอ
ไม่มากจนล้นหลาม แต่ก็ไม่เหงาจนวังเวง คนเก่าคนแก่ที่ยังมีชีวิตอยู่พาตัวเองกลับมาให้พวกเราเห็นหน้าจนเกือบครบ พี่สาวและหลานสาวผมทำหน้าที่เก็บซองใส่เงินช่วยงาน พี่ชายและพี่สาวอีกคนช่วยกันลงบัญชี
บางวันในยามค่ำ ผมหยิบซองเปล่าที่ลงชื่อผู้คนมากหน้าหลายตาในตลาดทั้งที่ผมรู้จักและไม่รู้จักขึ้นมาอ่าน บางคนไม่ได้บอกชื่อจริง แต่บอกจุดอ้างอิง เช่น แอ๊ว หน้าวัด หรือ พัท บ้านล่าง ซองจดหมายส่วนใหญ่ไม่แตก
ต่างจากที่ผมเคยเห็นเมื่อตอนเด็ก ส่วนใหญ่เขียนชื่อด้วยลายมือง่ายๆ ธรรมดาไม่หรูหรา ไม่มีลายมือวิจิตรของครูวิสูตร ครูอำนวย และอีกบางครู ด้วยหลายคนล้วนลาลับ หน้าที่เขียนป้ายกำหนดการงานศพจึงตกเป็นของ
ครูโอ๋-ครูห้องสมุดที่เขียนภาษาไทยได้งามในวันแรก ก่อนที่หลานสาวผมจะมารับหน้าที่ในวันต่อมา ลายมือที่เขียนด้วยช็อกสีบนกระดานดำ คือลายมือคัดไทยมาตรฐานที่เราพบเห็นได้ทั่วประเทศ มันอาจจะเป็นลายมือ
เรียบหรูที่เตี่ยพึงใจ เช่นเดียวกับลายมือซึ่งเขียนด้วยพู่กันปลายตัดบนพวงหรีดที่วางเรียงรายอยู่หน้าศพ

เตี่ยในภาพเขียนสีน้ำมันดูยิ้มแย้ม สีหน้าไม่มีอารมณ์หงุดหงิดหรือรำคาญใจจากเรื่องราวใดๆ ในชีวิต ผมอาจจะอุปาทาน แต่ลึกๆ นอกจากการได้พบหน้าลูกหลานจำนวนมาก รวมทั้งญาติพี่น้องที่อยู่ห่างไกลแล้ว
เตี่ยน่าจะถูกใจกับลายมือบนกระดานดำที่ตอกย้ำความเป็นทางการ ยิ่งเมื่อพิจารณาให้ทอดนาน เตี่ยอาจจะพบว่าผู้ที่มาร่วมงานส่วนใหญ่ก็หาได้มีลายมือที่ต่างไปจากเตี่ย เกือบทุกคนล้วนเขียนชื่อตัวเอง
ด้วยลายมือหวัดๆ เท่าหม้อแกง ที่จะลงมือคัดไทยหรือดีดด้วยพิมพ์ดีดนั้น แทบจะไม่มีหลายปีที่ผ่านมา เตี่ยอาจจะยินดีที่ได้เห็นชื่อลูกถูกคัดด้วยลายมือบรรจงลงในใบปริญญาบัตร (ซึ่งเตี่ยไม่เคยสัมผัสด้วยตนเอง)
เตี่ยจึงมาถ่ายรูปในงานรับปริญญาของลูกทุกคนด้วยรอยยิ้ม แต่ความจริงที่เตี่ยไม่เคยล่วงรู้ และลูกหลานเองก็อาจจะไม่เคยรู้เช่นกัน ก็คือ ลายมือหวัดๆ เท่าหม้อแกงของเตี่ย คือฟอนต์ที่งดงามที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในวันที่เตี่ยจากไปและซองมากมายได้หลั่งไหลมากองอยู่เบื้องหน้าให้ลูกหลานได้อ่านลายมือซึ่งหวัดใหญ่ ไม่ต่างจากลายมือของเตี่ยทั้งน้ำตา ด้วยเผลอคิดไปว่า เตี่ยเคยต่อว่าเพราะลายมือที่จ่าหน้าไม่ถูกใจ

Father’s Font
Pinyo Trisuriyatamma
(Translated by Jananya Triam-Anuruck)

My father was a Chinese man. He did not have a chance to study much as he had to flee from wars and famine to Siam with his father (my grandfather).
While he was able to read and write Chinese, his Thai capacity was that of students from primary level. Although he could place orders for goods from Bangkok,
write delivery bills and do the book-keeping of his small grocery without difficulty, I believe, deep down inside, he was never satisfied with his handwriting.
His Thai characters were untidy and very large, so large that my teacher at school called them soup-pot letters. Along with sense of sarcasm and humour,
I also felt a sense of mockery. My father must have known these weak traits; thus, whenever he had to go to someone’s wedding or funeral, he always called for my service.
He would ask me to take from the shop’s cabinet an envelope on which I had to write his name in large characters along with his long last name.
Nonetheless, no matter how determined I was in making his name look graceful, my father was not always pleased. When he found it beautiful, he would just simply put money
inside that envelope and left the house without saying a word. Sometimes, with the same handwriting, he would complain that it looked not pretty because I did it playfully.
I had to write his name again and again until he was happy but if it was still not what he wanted, he would be upset and ended up by writing those untidy soup-pot letters
of him instead.

To think back, in my father’s mind, those untidy and large characters were not unique identity which people nowadays seem to be proud of, but impoliteness which ought not
to appear in public, especially in important events. In fact, not many people would see his handwriting - only some receptionists and few hosts, much fewer than those
who had to read his bills. Still, when it came to sacred rituals such as weddings and funerals where all people from the community gathered, the writing on the envelope
should be neat and elegant just like Thai traditional handwriting a strict Thai-language teacher made his or her students practice.
This traditional handwriting in my generation was formed by lines similar to Thai design patterns with flicked tails, the kind we usually see in most academic certificates.
Despite its delicacy and beauty, in real life, people hardly write in this elaborate style. Even strict teachers have to adjust their writing to be practical on blackboards.
Handwriting is a mixture of chemical system of thoughts and physical movement of the body. It varies among most of us resulting in hundreds thousands of styles.
Despite difference, we can still communicate without discomfiture.

When I reached grade seven, there was a drawing class taught by Ajarn Nikom Thaibumrungwiwat (who already passed away). Motivated by his diligence, our traditional
handwriting was enthusiastically adjusted. In addition to perspective drawing, Ajarn Nikom introduced us to a style of writing favoured in architectural sketch.
Practicing it again and again, I found that the handwriting of my classmates and I began to change. With some slight diversity, as a whole, our handwriting was
under the same apprenticeship of Ajarn Nikom’s academy.

However, Nikom’s font did not last long. When we were in grade eight, the popularity of a film directed by Supaksorn shrouded the teenager’s world. It helped make
the music band McIntoch and a new star called Orapan Panthong rise to fame. Furthermore, Niyai Ruk Nuksuksa, a series of youth novel, and other books of the same kind,
swiftly blew the new cute and round font to my small hometown. From Nikom’s style, all of my female classmates adopted Supaksorn characters in their writing at the time
when no one knew what the word ‘font’ meant.

The development of writing style continued in grade nine when we welcomed a new friend from Bangkok. She brought with her a new style of font that was very popular
among Bangkok students. Sweet kind of Thai and English letters were widely copied. My classmates’ handwriting looked so similar that it was hard to differentiate one from
another when they presented their vocabulary cards in front of the class (besides the fact that half of the students did not care to do their task and borrowed cards from others
until there were no new vocabularies, which eventually made our teacher fed up).

Although these trendy styles of writing were easy to read, they surely upset most Thai-language teachers. Because of their playfulness and roundness, these fonts scarcely
appeared on academic certificates or formal documents. We still preferred writing service from our teachers who would spend time in the night after teaching writing down the
name of each graduate untiringly with their big fountain pens.

In the district where I lived, besides Thai-language teachers, few art teachers became leading font designers of the whole community. When there were temple fairs, annual
fairs or parades, these few teachers would be called in to write banners and posters. Their fonts were the kinds usually found in most official notice boards and temples’ banners
which seemed to be under the same national standard. I used to bike to see these teachers write banners. Although they came from different schools, they were well acquainted.
Kru Wisut and Kru Amnuay taught at elementary schools while Ajarn Tuanthong instructed secondary students.

Kru Wisut was an art teacher at a municipal school. His wife was very good at cooking Thai dessert. She would make her dessert at dawn and carried it to sell from house to
house late in the morning. What I remembered best was her bananas in syrup. The bananas were always in red-brown colour, not too soft or too hard, and were boiled in syrup
just enough to make the pulp red to the inside. No one in the area could compete with her about Thai dessert. She was also famous for her delicious rice cooked with coconut
milk and papaya salads. My mother usually bought only the rice. Its taste and newly-cooked smell were still lucent in my memory until today. It was a pity that I had never tried
her papaya salads for they were like taboos for my mother who cares for cleanliness more than anything. Thus, in my childhood memory, there was no taste of spicy papaya
salads, which makes me not crazy about them like most Thai women. What still linger in my mind are the handwriting of Kru Wisut and the coconut rice of his wife.


For Kru Amnuay, I was told by the other teacher Kru Samruay not to call Kru in front of any names ending with –uay sound to avoid dirty play of words in Thai language. Instead
of Kru, we should call them Ajarn. Still, people continued to call Teacher Amnuay ‘Kru Amnuay’ anyway.
Kru Amnuay rented a house in the old market area next to my friend’s so I often visited his place. Inside the house, besides common kitchenware, there was a big pile of
cartoon books which he willingly bought for his daughter. Since he and his wife could not have children, his wife allowed him to have a second wife. The second wife lived
peacefully in the same house and gave birth to a baby girl. Both wives helped raise the child and it seemed that the first wife loved the girl more. The whole house was never
set on fire or fight. Thus, in addition to his beautiful handwriting, I think Kru Amnuay also specialised in keeping space both between letters and in relationship. It was hard to
find anyone who could balance life like him.

Both Kru Wisut and Kru Amnuay were teachers from primary schools. When we reached the secondary level, all Kru changed to be Ajarn. Ajarn Tuanthong was hence the only
art teacher who was called Ajarn among the three teachers. Besides ability in drawing and painting, Ajarn Tuanthong and his friends formed a music band - the only band in
our district. They were called to perform in almost occasions from weddings, Christmas and New Year parties to school festivals. My friends and I grew up with his band until I
finished grade nine and left my hometown to study in Bangkok, few years after its 200-year-old celebration.

Till today, I have been away from home for more than 20 years. When I was accepted to Chulalongkorn University, the Faculty of Commerce and Accountancy where I studied
was among the first spots in Thailand to have computers. (This pioneering version of gadgets should be reserved in a fine museum – if only our country has one as such.) At
that time, notebook computers did not exist. Even personal computers or what we often call PC were not widely available. When one had to write a report, if he did not want to
work with a typewriter, he had to use the faculty’s computers with the software called CU-Word, not Microsoft Word. This CU operating system started with the song
‘Maha Chulalongkorn’ and did not have many fonts to choose from as in modern software. As I remembered, most of them were those kinds of traditional handwriting
we were familiar with.

In 1992, when I started my career as a reporter at Manager Newspaper, the whole editorial team changed to work with McIntosh computers. (How a popular music band in my
teenage years turned to be a stylish computer band is curious.) The Manager’s McIntosh computers were in grey colour and not very grand but worked well and had much more
fonts to explore. The developed system made it easy to set our letters italic, bold or underlined just by clicking at option buttons. As a result, news reported in italic, bold and
underlined letters came about in this period including the characteristic style of Manager’s news that usually ended sentences with many exclamation marks (!!!!) and closing
headlines with exclamation alternating with question marks (?!?). I myself used both marks for a long while until I explored the world more and became less timid. Not easily
frightened as before, those exclamation and question marks gradually disappeared from my writing. Even when it was a real question, I sometimes did not bother to put a
question mark behind it.

Siamrath Newspaper once applied this technique of playing with letters in M.R. Kukrit Pramoj’s columns both that in page five and ‘Soi Suanplu’. The difference was that at the
time, there were no computers; therefore, writers and reporters had to start new paragraphs frequently to organise the rhythm of reading, instead of letting stories flow
endlessly. In addition, in the process of typesetting, they would use different sizes of characters to highlight what was important in headlines, a method similar to the usage of
bold and italic characters at present. Reading M.R. Kukrit’s columns thus gave pleasure more than other common articles. Besides the writer’s knowledge and witty use of
language, we had to thank the skills of those typesetters who filled the writing stage with both yapping punches and hooks.

This included the knock-out blow at the end of the column by using bold-type characters. This distinctive style of M.R. Kukrit’s columns still stirs the nerves of writers until
today. I just finished the publication of ‘The Shadow of Time in the Life of ’Rong Wongsawan’ - the book that Khun ’Rong wrote in memory of M.R. Kukrit. This chance allows me
to witness the authentic handwriting of M.R. Kukrit as well as Khun ’Rong. The sophisticated style implies that they must be written by learned men whose styles surely differ from
those of oversea Chinese who have never received any high education.

Although Khun ’Rong maintains his unique character of writing manuscripts on a typewriter, he still chose to convey his feelings in letters written by hand. His writing style is
said to have disturbed Thai-language teachers around the country but his handwriting is very clear and easy to read with a glimpse of contemporary feature. It may not be
proper to write on official boards or temples’ banners but prevailing enough to catch the eyes of almost everyone who came to see me at the office.

After all, they may be only characters written on a big envelope addressing to an ordinary receiver but its meaning grows as the letter was sent from a highly respected writer
and master of language styles who has inspired many generations of Thai writers.

When M.R. Kukrit passed away in 1995, as a reporter from an English newspaper, I attended the funeral at Wat Benjamabopit on the first day. The funeral at the royal temple
was neat and elegant to agree with the man’s rank. The memorial books were published deliberately similar to those distributed in his birthday which were usually filled with
beautiful pictures and the characteristic signature recognisable to most Thai people.

Several years ago, I paid a visit to Khun ’Rong. When I turned a publisher, Khun ’Rong’s health had deteriorated that he had to stop writing. But with inspiration from a young-
generation writer as Prabda Yoon, Khun ’Rong’s first piece of writing after recovery was published in Open House – a bookgazine series that my friends and I helped generate
following the path Khun ’Rong had paved in the past. These days Khun ’Rong would call from time to time to ask how we are doing including the day my father was gone.

My father passed away at the age of 85. Although some shed tears, we were not in much grief for we thought that he had walked a long way and thus should finally rest in
peace without worry about getting up early to open his grocery. As the shop had opened for a very long time and he had attended many weddings and funerals - in the same
amount as those envelopes on which we wrote his name, each day there were people coming to my father’s small funeral which his offspring helped organised.
Not too many to feel crowded and not too few to feel lonely.

Most of the elderly we used to see when we were small made it to the funeral. My sisters and nieces were responsible for collecting envelopes. Other brother and sister recorded
the account. Someday at night I would pick up those empty envelopes transcribed with various names, some I knew, some I did not. Several people did not write down their real
names but used some reference such as Aaew – Na Wat (in front of the temple) or Pat – Banlang (the lower area of the district).

In fact, most envelopes were not different from what I experienced when I was a child. Their names were in simple handwriting, not neat and elegant, nothing like exquisite
writing of Kru Wisut, Kru Amnuay or some other teachers as some of them already passed away. The task of writing the funeral’s banner was passed on to Kru Oh – a librarian
whose handwriting was also beautiful. My niece took responsibility the days later. The writing on the blackboard and wreathes was that typical of Thai traditional style, neat and
elegant as my father would have wanted.

His portrait in oil painting looked pleasant, without any sign of frustration or anger in life. It might be just my assumption but besides being surrounded by members of family,
the formal kind of handwriting on the blackboard must have made my father happy. He would also find out that handwriting of those who attended his funeral did not much
differ from his own. Most of them had untidy soup-pot letters as well. Letters that were typed or written in traditional Thai-style were very rare.

In the past, my father might be happy to see his children’s names written beautifully on their graduate diplomas (the thing he had never had first-hand experience). He would
come to our graduation ceremonies with smiling face.

Nonetheless, the truth that he and his children may not yet realised is that his untidy soup-pot letters are the most beautiful font, especially in the day that he was gone and lot
of envelopes piled in front of his children who read those untidy big-pot letters similar to their father’s with tears for they reminded them of the time when their father
complained because the writing on the envelope they wrote for him was not beautiful enough.

No comments: