หลายคนที่มีโอกาสได้ไปชมงานนิทรรศการ Yes, I am not เมื่อกลางปีที่ผ่านมา
ผมเชื่อว่าอาจจะยากในการอ่านข้อความทั้งหมดที่จัดวางไว้อย่างครบถ้วน
ผมถือโอกาสนำมาลงไว้นะครับ
WHILE I TRY TO UNDERSTAND THOSE WRITTEN WORDS
SOMETHING JUST HITS ME IN A WEIRD WAY
I THINK SOMETHING IS SO REAL
ALTHOUGH I AM NOT COMPLETELY SURE WHAT CAN I DO WITH IT
HOWEVER I DO SOMETHING ACCORDING TO MY SUBCONSCIOUS
IT BOTHERED ME BECAUSE I CANNOT FREELY EXPRESS MYSELF
I DO NOT UNDERSTOOD WHY SOME PEOPLE ALWAYS TRY TO
MAKE EVERYONE DECIDE TO DO OR THINK THE WAY THEY WANT
I HAVE AN AFFECTION FOR IDEA AND STORY THAT MANY PEOPLE BELIEVE
THE TRUTHS ARE ALWAYS TRUE UNTIL I HAVE NEW INFORMATION TO PROVE THEM WRONG
BUT INFORMATION WAS DESIGNED TO BE CONSUMED
IN THE END I SPEND A LOT OF TIME CAREFULLY CONSIDERING
THE SITUATION, EVENTS AND INFORMATION
THAT ARE RELATED TO SOMETHING
I HOPE THAT HELP ME TO RECOGNIZE
December 16, 2008
| ข้อความที่ใช้ในการจัดวางงานนิทรรศการ Yes, I am not |
Posted by Tik Lawrachawee at Tuesday, December 16, 2008 1 comments
Labels: Article, Yes I am Not
| ข้อเขียนในสูจิบัตรนิทรรศการ Yes, I am not โดย สันติ ลอรัชวี|
ใช่ครับ..ผมเปล่า
หลายปีที่ผ่านมา ผมใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางการปะทะกันของข่าวสารมากมาย การปรากฏขึ้นของรายการโทรทัศน์ประเภทโต้วาที
รายการคุยข่าว รายการผู้นำคุยกับประชาชน หนังสือพิมพ์ที่มีฝักฝ่ายทางการเมืองอย่างเด่นชัด
โฆษณาที่แฝงตัวมาในรูปของบทความในหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และรายการโทรทัศน์ขนาดสั้น รวมถึงพรีเซนเตอร์สินค้า
ที่พยายามประกาศตัวว่าไม่ได้มาชวนเชื่อขายของ..
ปรากฏการณ์ดังกล่าวล้วนแล้วแต่สร้างเงื่อนไขในการดำเนินชีวิตของผม เริ่มตั้งแต่ระดับจุลภาคในห้องน้ำจนถึงเรื่องมหภาคในคูหาเลือกตั้ง
หลายครั้งที่ไม่สามารถคุ้นเคยกับการตกอยู่ในพื้นที่ระหว่างกลาง ที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับการนั่งชมการแข่งขันเทนนิสตรงอัฒจันทร์กึ่งกลาง
อย่างน้อยผมก็รู้ว่าผมสามารถเชียร์คนใดคนหนึ่งได้อย่างสุดใจ
ไม่เหมือนกับกรณีพิพาทในรายการโทรทัศน์ ระหว่างนาย ก กับ นาย ข อาจทำให้ผมลังเลทุกห้วงบทสนทนา
ไม่ต่างจากอารมณ์ร่วมที่มีต่อละครหลังข่าว ซึ่งมีบทส่งท้ายคล้ายกันคือปิดโทรทัศน์ไปโดยไม่รู้ว่าตอนต่อไปจะเป็นอย่างไร
บางครั้งผมก็เบี่ยงเบนไปสู่การรับรู้ข่าวสารและข้อมูลเชิงวิเคราะห์อาจจะทำให้ผมรู้สึกดีและรู้สึกฉลาดขึ้น แต่ก็เพียงชั่วขณะ
เมื่อได้มีโอกาสนำข้อมูลนั้นไปพูดซ้ำกับผู้อื่นที่ยังไม่ได้อ่าน บทส่งท้ายในวงสนทนาก็คือแยกย้ายกลับบ้านโดยไม่รู้ว่าควรจะทำอย่างไร
กับวาทกรรมทั้งหลาย
น่าแปลกตรงสิ่งที่ผมเชื่อมาตลอดว่าเป็นสิ่งไม่น่าเชื่อ กลับมีอิทธิพลต่อปฏิกริยาที่เป็นรูปธรรมมากกว่า ผู้คนทั้งหลายมักจะเชื่อมั่นต่อเหตุผล
ในการบริโภคของตน ผมเองก็เช่นกัน.. ไม่มีใครยอมรับว่าจับจ่ายสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพราะการชวนเชื่อ
น่าแปลกตรงที่ผมรู้ดีว่ามันไม่ควรเชื่อ แต่ปฏิกริยาตอบสนองที่เกิดขึ้นกลับสอดคล้องประสานอย่างมีตรรกะและเป็นธรรมชาติอย่างยิ่ง
แม้มีการชี้นำให้เห็นผลกระทบของปรากฏการณ์ทั้งหลายว่าทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม ซึ่งผมเคยเชื่ออย่างนั้น
กระทั่งไม่แน่ใจเมื่อพบว่า...ความแตกแยกที่พูดถึงกัน กลับเกิดขึ้นอย่างเด่นชัดในตัวผมเอง
...รอยแยกชัดเจน แต่พรมแดนของการแบ่งแยกกลับเลือนลางจนไม่อาจทำความเข้าใจ
ข้อมูลมหาศาลที่ไหลผ่านเข้ามาเลื่อนไหลซ้อนทับ เสมือนไม่มี “ข้อ” แต่ก็ไม่สามารถพูดได้ว่าไม่มี “มูล”..
ผู้คนรอบข้างที่หนักแน่นกว่า..อาจเคลื่อนไหวถาโถมจนเห็นเด่นชัด
ผู้ที่ดูเบาหวิว..ก็ไคว่คว้าบางสิ่งและกอดรัดมันอย่างแนบแน่น
บางทีทั้งสองฟากฝั่งอาจดีกว่าการอยู่ระหว่างกลาง ไม่อาจหนัก ไม่อาจเบาได้มากกว่านี้
ใช่หรือไม่ว่าไม่มีแก่นสารใดให้ยึดถือ หรือไม่จำเป็นต้องไปยึดถือแก่นสารใด
ณ โอกาสสำหรับนิทรรศการนี้ บทส่งท้ายแตกต่างกัน เพราะปรากฏการณ์ทั้งหลายหลอมรวมเป็นสารเดียวกัน
ก่อเกิดปฏิกริยาตอบสนองที่เป็นรูปธรรม และถึงแม้ว่ามัน “อาจจะไม่ใช่” แต่บางทีแค่เพียงเพราะมัน “ไม่ อาจ จะ ใช่”
Yes, I am not
(Translated by Jananya Triam-Anuruck)
For many past years, my life has been in the crash of overwhelming information. Various kinds of media
have emerged such as debate television programmes, talking news, the leader’s talks to the people, prejudiced
newspapers, advertorials in newspapers and magazines, short television programmes as well as product
presenters who deny their propagandist aims. All these have brought new conditions to my life from micro
elements as in the bathroom to macro aspects as in the election’s stand.
For many times, I find it hard to stand between two things that are totally different. In a tennis match, at
least I can cheer one player over the other without holding back. By contrast, a dispute between Mr. A and Mr. B
that is broadcasted on television can make me feel doubtful in every word both sides utter, the feelings not so
different from watching some soap-operas. When you turn off the television, you cannot guess what will happen
in the next episode.
Sometimes, I turn to analytical information and news to make me feel better and smarter but the feelings
last temporarily only when I pass on what I learn to other people who have no clue about what I have just said.
At the end of conversation, we just separate and go home without knowing what to do about those issues.
Most people strongly believe in the reasons of their consumption. Me either. No one wants to accept that
they consume because they are stimulated or deceived. The oddest part about this is that I know I should not
believe those propagandas but my reaction naturally reverses in the other direction.
I have been told that with difference of opinion, our society will turn to be bipolar. I once believed so until
I found out that the contradiction also exists within me. The division is evident but its boundary is blurred.
Immense amount of information overflows and overlaps one another. Under this circumstance, it seems there is
no ‘point’; still, that does not mean that it is ‘pointless’.
Those with firm stances may create strong movements. Those with elusive attitudes may try to hold on
to something. Either of them is still better than those in between who can go neither forwards nor backwards.
Despite of all that, probably, there is no substance to hold on to or there is no need to hold on to any substance.
In this exhibition, the conclusion varies. All phenomena are melted into one resulting in solid responses.
Although it ‘may be not’, it may be because it ‘cannot be’.
Posted by Tik Lawrachawee at Tuesday, December 16, 2008 0 comments
Labels: Article, Yes I am Not
| บทความจากสูจิบัตรนิทรรศการ Yes, I am Not โดย ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา |
หน้าซองของเตี่ย
ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา
เตี่ยผมเป็นคนจีนแต้จิ๋ว ความที่ต้องอพยพหลบหนีสงครามกลางเมืองและความอดอยากมาสยามพร้อมกับเตี่ยของแก(อากงของผม) ตั้งแต่เด็ก ทำให้เตี่ยไม่มีโอกาสได้เล่าเรียนหนังสือมากนัก
หนังสือจีนพออ่านออกเขียนได้ ส่วนหนังสือไทยนั้น เทียบชั้นแล้วก็คงประมาณประถมสี่ แม้เตี่ยจะเขียนจดหมายสั่งของจากกรุงเทพฯได้ เขียนใบส่งของคล่อง รวมทั้งบันทึกบัญชีค่าใช้จ่าย
ในร้านขายของเล็กๆ ของแกได้อย่างถี่ถ้วน แต่ลึกๆ แล้ว ผมเชื่อว่า แกไม่เคยพอใจในลายมือของแกเลย ลายมือภาษาไทยของเตี่ยตัวหวัดใหญ่ ครูที่โรงเรียนผมเรียกว่าตัวเท่าหม้อแกง
นอกจากจะมีอารมณ์ประชดประชันผสมอารมณ์ขันแล้ว ผมคิดว่ายังมีอารมณ์หยันปะปนอยู่เล็กน้อย เตี่ยเองก็คงพอรู้จักลายมือของตัวเองดีว่ามีข้ออ่อนอย่างไร เวลาจะไปงานศพหรืองานแต่งใครต่อใครในตลาด
เตี่ยจึงเรียกใช้บริการผมให้ช่วยไปหยิบซองจดหมายในตู้หน้าบ้านมาเขียนชื่อแกตัวใหญ่ๆ พร้อมนามสกุลยาวๆ ที่ด้านหน้าทุกครั้งไป แม้ผมจะเขียนด้วยความตั้งใจเพื่อให้ชื่อและนามสกุลของเตี่ยงามสง่า
แต่ก็ใช่จะว่าจะสร้างความพอใจให้กับเตี่ยได้ทุกครั้ง บางครั้งที่แกเห็นว่าเขียนสวย แกก็จะเอาเงินใส่ซอง พับซองใส่กระเป๋า แล้วออกจากบ้านไปโดยไม่บ่นไม่ชมอะไร แต่บางครั้งด้วยลายมือเดียวกัน
แกกลับเห็นว่าไม่สวย เขียนเป็นเล่นไป แกก็จะให้เขียนใหม่จนกว่าแกจะพอใจ สามซองบ้าง สี่ซองบ้าง ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้ายังไม่ถูกใจอีก แกก็จะเริ่มหงุดหงิดและแก้ปัญหาด้วยการลงมือเขียนด้วยลายมือหวัดๆ
เท่าหม้อแกงของแกเอง
ถ้าให้ผมเดา ในความคิดของเตี่ย ลายมือที่ใหญ่หวัดอ่านยาก หาใช่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวอย่างที่คนยุคปัจจุบันเชิดชู หากแต่เป็นความไม่สุภาพ ไม่เหมาะสมที่จะปรากฏต่อสาธารณะในวาระสำคัญ
ทั้งๆ ที่คนอ่านมันก็มีอยู่เพียงไม่กี่คน คนรับเงินหน้างานหนึ่ง เจ้าของงานตัวจริงอีกหนึ่งหรือสอง รวมไม่เกินสาม อาจจะน้อยกว่าหรือเท่ากับคนอ่านใบส่งของของเตี่ยด้วยซ้ำ แต่ในเมื่อมันเป็นงานแต่งและงานศพ
ที่ดูศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากมีคนทั้งตลาดไปร่วมชุมนุมกันอยู่ ลายมือหน้าซองจึงจำเป็นต้องเรียบหรู เหมือนลายมือที่นักเรียนถูกครูบังคับให้คัดไทยในชั่วโมงเรียนชั้นประถม โดยมีครูภาษาไทยสูงวัยดุๆ เป็นต้นแบบ
ลายมือนี้สำหรับคนรุ่นผม-ถ้ายังจำกันได้ ออกจะมีเส้นสายคล้ายลายไทย ปลายหางตวัดเล็กน้อย พบเห็นได้ในวุฒิบัตรการศึกษาทั่วประเทศ แม้จะสวยงามอ่อนช้อย แต่ในชีวิตจริงก็ยากที่จะมีคนเขียนหนังสือ
ด้วยลายมือเช่นนี้ แม้แต่ครูภาษาไทยที่เนี้ยบๆ ก็ยังต้องยอมปรับเปลี่ยนลายมือบนกระดานดำให้สอดคล้องกับการใช้งานจริง อันเป็นลีลาเฉพาะตัวซึ่งเกิดจากส่วนผสมทางเคมีของความคิดและส่วนผสมทางฟิสิกส์
ของการเคลื่อนไหวร่างกาย ลายมือภาษาไทยของแต่ละคนจึงแตกต่างกันไป จนเกิดเป็นสไตล์การเขียนนับแสนนับล้านในหนึ่งภาษา หากทว่าสามารถสื่อสารกันได้อย่างไม่ขัดเขิน
จากลายมือแบบคัดไทยมาตรฐาน เมื่อนักเรียนรุ่นผมได้เรียนวิชาเขียนแบบเมื่ออยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่หนึ่ง ความเอาจริงเอาจังของครูผู้สอน คือ อาจารย์นิคม ไทยบำรุงวิวัฒน์(ผู้ล่วงลับ)
ได้เป็นแรงบันดาลใจให้นักเรียนในชั้นมีการปรับเปลี่ยนลายมือกันยกใหญ่ นอกจากหัดให้พวกเราเขียนภาพเปอร์สเปคตีฟแล้ว อาจารย์นิคมยังสอนให้พวกเราคัดลายมือในสไตล์ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในการเขียนประกอบ
แบบทางสถาปัตยกรรม คัดซ้ำๆ อยู่หลายๆ ครั้งเข้า ผมพบว่าลายมือของเพื่อนนักเรียนร่วมชั้นหลายคน รวมทั้งตัวผมเองด้วย เริ่มเปลี่ยนไป โดยได้รับอิทธิพลจากตัวอักษรที่ใช้ในการเขียนแบบโดยตรง
แม้ลายละเอียดของเส้นสายจะต่างกัน แต่เมื่อจับสไตล์โดยรวมแล้ว ก็ทำให้มองเห็นว่าลายมือของคนเกือบทั้งห้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลจากสำนักเดียวกัน คือสำนักเขียนแบบของอาจารย์นิคม
กระนั้น ลายมือแบบนิคมก็ใช่ว่าจะอยู่ในความนิยมนาน เมื่อขึ้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่สอง ความโด่งดังของภาพยนตร์ที่กำกับโดย ศุภักษร นอกจากจะสร้างกระแสให้กับวงดนตรีอย่างแม็คอินทอช
นางเอกภาพยนตร์อย่างคุณอรพรรณ พานทองแล้ว กระแสหนังสือชุดนิยายรักนักศึกษา รวมทั้งหนังสือในลีลาเดียวกัน ได้นำลายมือหวานแหววกุ๊กกิ๊ก ตัวกลมมนน่ารักเข้าสู่บ้านเกิดผมอย่างรวดเร็ว
จากฟอนต์นิคม เพื่อนสาวในห้องผมปรับเปลี่ยนลายมือเป็นฟอนต์ศุภักษรกันถ้วนหน้า ตั้งแต่ในยุคที่เรายังไม่รู้จักคำว่า ฟอนต์ ยิ่งเมื่อขึ้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่สาม เราได้มีโอกาสต้อนรับเพื่อนใหม่ซึ่งเดินทางจากกรุงเทพฯ
มาเข้าเรียนกับเราในช่วงต้นปี เธอได้นำเอากระแสการเขียนลายมือใหม่ๆ ซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่เด็กกรุงเทพฯ เข้าสู่ห้องเรียนของเราอย่างรวดเร็ว-ทั้งฟอนต์ภาษาไทยวัยหวาน และฟอนต์ภาษาอังกฤษน่ารักทั้งหลาย-
จนคนทั้งห้องแทบจะเขียนภาษาอังกฤษด้วยลายมือเดียวกันไปหมดเมื่อต้องทำบัตรคำศัพท์ออกไปโชว์หน้าชั้น (ถ้าไม่นับว่ากว่าครึ่งห้องไม่ยอมทำ แต่อาศัยหยิบยืมกันจนศัพท์ซ้ำและอาจารย์งอน)
ทั้งหมดนี้แม้จะเป็นฟอนต์(ลายมือ)ยอดนิยม แต่ก็คงไม่เป็นที่สบอารมณ์ครูภาษาไทยเท่าไหร่นัก แม้จะอ่านออกอย่างชัดเจน แต่ด้วยลีลาที่แฝงความขี้เล่นจากความกลมมนของตัวอักษร
ก็ทำให้ลายมือเช่นนี้ไม่เคยได้รับอนุญาตให้ปรากฏอยู่ในวุฒิบัตรการศึกษา เรายังคงใช้บริการครูภาษาไทย ผู้สละเวลายามค่ำหลังเลิกสอน นั่งคัดชื่อและนามสกุลของนักเรียนแต่ละคนผู้จบการศึกษาในแต่ละปี
ด้วยปากกาหมึกซึมแท่งใหญ่อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
ในอำเภอบ้านผม นอกจากครูภาษาไทยแล้ว ครูสอนศิลปะสามสี่คนในระดับชั้นประถมและมัธยม ได้กลายมาเป็นผู้มีอิทธิพลกับรูปแบบตัวอักษรของผู้คนทั้งตลาดอย่างไม่ต้องสงสัย เมื่อมีงานวัด งานประจำปี
หรือขบวนรถแห่ครั้งใด ครูสามสี่คนนี้จะถูกเรียกตัวมาหน้าอำเภอเพื่อเขียนป้ายด้วยพู่กันปากตัด เป็นตัวอักษรคัดไทยแบบที่พบได้ตามงานวัดและป้ายประกาศของทางราชการ
อันเกือบจะเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ
ผมเคยขี่จักรยานไปนั่งดูครูของผมช่วยกันเขียนป้าย แม้จะอยู่ต่างโรงเรียนแต่ทั้งหมดล้วนรู้จักกัน เพราะบ้านเราเป็นอำเภอเล็กๆ ครูโรงเรียนประถมมีครูวิสูตรกับครูอำนวย ครูมัธยมมีอาจารย์ทวนทองมาช่วยเขียน
เป็นบางครั้ง ครูวิสูตรนั้นสอนศิลปะที่โรงเรียนเทศบาล เมียครูวิสูตรทำขนมหวานอร่อยมาก แกจะนั่งทำขนมตอนเช้า แล้วก็หาบมาขายตามบ้านตอนสายๆ ที่ผมจำได้ก็มีกล้วยเชื่อมสีน้ำตาลแดงไม่อ่อนไม่แข็ง
แต่เคี่ยวกับน้ำตาลจนสุกได้ที่ สีแดงเข้าไปถึงเนื้อใน เรียกว่าหาใครในตลาดทาบฝีมือด้วยยาก นอกจากนี้ แกยังมีทีเด็ดที่ข้าวมันส้มตำขายคู่กัน แต่แม่ผมชอบซื้อเฉพาะข้าวมันเท่านั้น ขนาดกินข้าวมันเปล่าๆ
ยังจำรสมือและกลิ่นหอมอ่อนๆ เมื่อทำใหม่ๆ มาได้ถึงทุกวันนี้ เสียดายที่ส้มตำเป็นของต้องห้ามสำหรับแม่ผู้รักความสะอาดเป็นชีวิตจิตใจของผม รสชาติส้มตำจึงหายไปจากความทรงจำวัยเยาว์
ทำให้ผมมิได้พิสมัยส้มตำไทยใส่ปู เหมือนกับหญิงไทยทั่วประเทศ หากแต่ยังพอจำได้ถึงลายมือของครูวิสูตรและข้าวมันของเมียแก
ส่วนครูอำนวย ซึ่งเราควรจะเรียกแกว่าอาจารย์มากกว่า เพราะครูสำรวยซึ่งเป็นครูภาษาไทยของผมสอนมาว่าอย่างนั้น แต่ก็ไม่ยักจะมีคนในตลาดเรียกแกว่าอาจารย์ ทุกคนก็ยังคงเรียกแกว่าครูอำนวยอยู่นั่นเอง
ครูอำนวยเช่าห้องแถวอยู่ในย่านตลาดเก่าติดกับบ้านเพื่อนผม บางครั้งผมจึงมีโอกาสเข้านอกออกในบ้านโล่งๆ ของแกได้ ในบ้านนอกจากข้าวของเครื่องครัวตามปกติแล้ว ยังมีหนังสือการ์ตูนกองใหญ่ของลูกสาว
ซึ่งแกซื้อให้อ่านอย่างไม่เสียดายเงิน
ความที่แกกับเมียหลวงไม่มีลูก เมียหลวงจึงอนุญาตให้แกหาเมียน้อยมาอยู่ร่วมกันในบ้านได้ อยู่มาเรื่อยๆ เมียน้อยก็คลอดลูกสาวให้แกหนึ่งคน ทั้งสองเมียช่วยกันเลี้ยงลูกเล็ก แต่ดูเหมือนเมียหลวงจะรักเด็กมากกว่า
บ้านทั้งบ้าน แม้จะมีสองเมียแต่กลับอยู่ร่วมกันมาได้อย่างสงบสุขโดยไม่มีการทะเลาะเบาะแว้งให้เห็น นอกจากจะลายมือสวยแล้ว ผมคิดว่าครูอำนวยน่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาช่องไฟ
ทั้งในระหว่างตัวอักษรและในการใช้ชีวิตคู่(หรือคี่) อย่างยากที่จะหาผู้คนในตลาดเทียบเคียงเช่นกัน ทั้งสองคนเป็นครู ด้วยเหตุผลที่สอนชั้นประถม เพราะพอถึงชั้นมัธยมเราได้เปลี่ยนครูมาเป็นอาจารย์เสียทั้งโรงเรียน
อาจารย์ทวนทองจึงเป็นอาจารย์สอนศิลปะอยู่คนเดียวโดยไม่ได้เป็นครูเหมือนกับอีกสองคน ด้วยเหตุผลนี้นอกจากวาดรูปเก่งแล้ว แกยังรวมตัวกับเพื่อนครูตั้งวงดนตรี ที่ทั้งอำเภอมีอยู่วงเดียว ทั้งงานแต่ง งานคริสต์มาส
งานปีใหม่ งานโรงเรียนก็เป็นวงนี้วงเดียวที่ผูกขาดเล่นอยู่ เด็กรุ่นผมจึงเติบโตมาด้วยวงดนตรีของแก ที่เราเฝ้าติดตามอยู่หน้าเวทีปีแล้วปีเล่า จนกระทั่งจบมัธยมต้นและเข้ามาเรียนต่อในเมืองหลวงสองสามปีหลังกรุงเทพฯ
มีอายุครบสองร้อย
นับถึงวันนี้ ผมจากบ้านมาเรียนหนังสือและทำงานนานกว่ายี่สิบปีแล้ว เมื่อเข้าเรียนที่จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีของผมเป็นสถานที่แรกๆ ในประเทศไทยที่มีคอมพิวเตอร์รุ่นบุกเบิกใช้
(คอมพิวเตอร์รุ่นนี้สมควรอยู่ในพิพิธภัณฑ์ที่ใดที่หนึ่ง-ถ้าประเทศเราจะมีสถานที่ที่ว่านั้น) ในสมัยผมเป็นนักศึกษา อย่าว่าแต่โน้ตบุ๊ค แม้แต่คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะก็ยังมีใช้เพียงไม่กี่คน เวลาจะพิมพ์รายงานส่ง
ถ้าไม่ใช้พิมพ์ดีดก็ต้องไปอาศัยห้องคอมพิวเตอร์ของคณะ โดยมีซียู-เวิร์ด ไม่ใช่ไมโครซอฟต์ เวิร์ดเป็นโปรแกรมสำหรับการพิมพ์ โปรแกรมนี้เวลาเปิดหน้าจอจะมีเพลง ‘มหาจุฬาลงกรณ์’ ที่ร้องว่า น้ำใจน้องพี่สีชมพู
เป็นเมโลดีนำหน้ามาก่อน ส่วนฟอนต์เองก็ไม่ได้มีให้เลือกมากมายอย่างเช่นทุกวันนี้ เท่าที่จำได้น่าจะเป็นฟอนต์มาตรฐานไม่ต่างจากตัวคัดลายมือสวยๆ ที่พวกเราล้วนคุ้นเคยจากวัยเยาว์
เมื่อผมเข้าทำงานเป็นผู้สื่อข่าวที่หนังสือพิมพ์ผู้จัดการราวปี 2535 ทั้งกองบรรณาธิการได้เปลี่ยนมาใช้คอมพิวเตอร์แม็คอินทอชในการพิมพ์งานและจัดหน้าแล้ว (จากวงดนตรียอดฮิตสมัยวัยรุ่นกลายมาเป็นคอมพิวเตอร์
ยอดนิยมได้อย่างไร-เรื่องนี้น่าสงสัยอยู่) แม็คอินทอชรุ่นนั้นสีเทาๆ ตัวไม่ใหญ่มาก แต่ใช้งานได้คล่องแคล่วและเริ่มมีฟอนต์ให้เลือกหลายรูปแบบ รวมทั้งมีโปรแกรมเวิร์ดที่เราสามารถกำหนด ตัวเอน ตัวหนา
ขีดเส้นใต้ได้อย่างง่ายดายด้วยการคลิกเลือก วิธีการเขียนข่าวโดยการใช้เทคนิคตัวเอน ตัวหนา และขีดเส้นใต้ จึงเกิดขึ้นในยุคนี้ ภายใต้การกำหนดสไตล์ของกลุ่มผู้จัดการ ผู้มักชอบใส่เครื่องหมายตกใจ (!!!!)
หลายๆ อัน หลังประโยค รวมทั้งเครื่องหมายคำถามสลับกับเครื่องหมายตกใจ (?!?) หลังพาดหัวข่าว ผมเองก็ติดใช้ทั้งเครื่องหมายตกใจและเครื่องหมายคำถามอยู่พักใหญ่
ต่อเมื่อออกมาผจญโลกกว้างจนเริ่มหายขวัญอ่อนแล้ว เครื่องหมายตกใจก็แทบไม่เคยปรากฏอีกเลยในงานเขียน เช่นเดียวกับเครื่องหมายคำถาม ที่หลายครั้ง แม้จะเป็นประโยคคำถาม แต่ก็ไม่คิดอยากจะใส่
วิธีการเล่นกับเทคนิคตัวอักษรนี้ ครั้งหนึ่งหนังสือพิมพ์สยามรัฐก็เคยใช้กับคอลัมน์ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ทั้งในคอลัมน์หน้าห้าและในคอลัมน์ซอยสวนพลู เพียงแต่ในยุคนั้น เมื่อยังไม่มีคอมพิวเตอร์ก็ต้องใช้การขึ้น
ย่อหน้าใหม่บ่อยๆ ให้ถี่กว่าปกติ เพื่อกำหนดจังหวะของการอ่านให้มีลูกล่อลูกชนมากกว่าปล่อยเรื่องให้ไหลยาวเป็นพรืด รวมทั้งใช้ขนาดของตัวอักษรที่ต่างกันตามขนาดของตัวเรียงพิมพ์ เพื่อกำหนดน้ำหนักอ่อนแก่ของ
แต่ละประโยค เช่นเดียวกับการใช้ตัวเอนและตัวหนา การอ่านคอลัมน์ของอาจารย์คึกฤทธิ์จึงได้อรรถรสมากกว่าคอลัมน์ทั่วไป เพราะนอกจากปัญญาและภาษาแล้ว ยังเป็นผลมาจากการใช้เทคนิคทางตัวอักษร
ของผู้เรียงพิมพ์ ซึ่งช่วยให้คอลัมน์มีทั้งหมัดแย็บและหมัดฮุค รวมทั้งมีหมัดน็อคตัวหนาซึ่งมักใช้ตอนจบเรื่อง จนกลายเป็นลีลางานเขียนของอาจารย์คึกซึ่งยังคงออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทของนักเขียนรุ่นใหม่มาจนถึงทุกวันนี้
ผมเองเพิ่งเสร็จจากการพิมพ์หนังสือที่คุณ ‘รงค์ วงษ์สววรค์ เขียนถึงอาจารย์คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ชื่อ คึกฤทธิ์ ปราโมช ในเงาเวลาของ ‘รงค์ วงษ์สวรรค์ ทำให้ได้มีโอกาสเห็นลายมือภาษาไทยแท้ๆ ของอาจารย์คึกฤทธิ์
รวมทั้งลายมือภาษาไทยที่ใช้ในการจ่าหน้าซองต้นฉบับของคุณรงค์ วงษ์สวรรค์ อันประณีตและงดงาม ลายมือเหล่านี้บ่งบอกถึงความเป็นผู้มีการศึกษา จังหวะและลีลาย่อมแตกต่างไปจากลายมือของคนจีนโพ้นทะเล
ผู้ไม่เคยได้รับการศึกษาในระดับสูง แม้คุณ ’รงค์จะยังคงรักษาเอกลักษณ์ในการเขียนต้นฉบับด้วยพิมพ์ดีดมาจนถึงทุกวันนี้ หากแต่หลายครั้งคุณ ‘รงค์ก็ยังคงเลือกจะสื่อความถึงผู้อื่นด้วยการเขียนลายมือ
แม้สำนวนภาษาของ ‘รงค์ วงษ์สวรรค์จะกวนใจครูภาษาไทยของประเทศ หากแต่ลายมือของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์กลับชัดเจนอ่านง่าย แถมยังมีสไตล์ร่วมสมัยเป็นอย่างยิ่ง แม้จะไม่ได้เหมาะสำหรับการเขียนป้ายหน้าอำเภอ
หรือประกาศงานวัด หากแต่มันก็มีพลังเพียงพอที่จะหยุดยั้งสายตาของผู้มาเยือนห้องทำงานของผมได้แทบทุกคน ทั้งๆ ที่มันเป็นเพียงตัวอักษรบนซองจดหมายขนาดใหญ่ ที่จ่าหน้าซองถึงผู้รับที่ไม่ได้มีความสลักสำคัญ
ใดๆ เท่ากับผู้ส่ง ซึ่งนอกจากจะเป็นนักเขียนใหญ่แล้ว ยังเป็นครูภาษายุคใหม่-ผู้เป็นแรงบันดาลใจให้กับนักเขียนครึ่งค่อนประเทศ
เมื่ออาจารย์คึกฤทธิ์ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อปี 2538 ผมไปร่วมงานศพวันแรกในฐานะนักข่าวหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ โดยพาช่างภาพต่างประเทศไปถ่ายภาพด้วยกันที่วัดเบญจมบพิตร งานศพถูกจัดอย่างเรียบหรู
ในวัดหลวงตามฐานานุรูปของท่านผู้ล่วงลับ หนังสืองานศพจัดพิมพ์อย่างประณีต เช่นเดียวกับหนังสือที่ระลึกในวันคล้ายวันเกิดของท่าน ซึ่งมักมีภาพสวยๆ และลายเซ็นหวัดๆ ที่คนไทยทั้งประเทศรู้จักดี ผมแวะไป
เยี่ยมเยียนคุณ ‘รงค์ในอีกหลายปีต่อมา เมื่อครั้งที่ได้หันมาทำหนังสือเล่มเป็นอาชีพ คุณ ’รงค์ เจ็บกระเสาะจนต้องพักงานเขียน หากแต่ด้วยแรงบันดาลใจจากเพื่อนหนุ่ม เช่น ปราบดา หยุ่น ทำให้งานเขียนชิ้นแรก
หลังป่วยกลับมาปรากฏตัวอีกครั้งในหนังสือ open house ที่ผมและสหายร่วมกันคิดและผลิตขึ้นมาตามแนวทางเก่าๆ ที่คุณ’ รงค์เคยแผ้วถางไว้ในอดีต ทุกวันนี้ คุณ'รงค์ยังคงโทรศัพท์มาถามข่าวคราวในบางวัน
รวมทั้งวันที่เตี่ยผมจากไป เมื่อปลายปีที่แล้ว
เตี่ยผมเสียชีวิตด้วยโรคชราในวัย 85 แม้จะมีพี่น้องบางคนเสียน้ำตา แต่เราก็ไม่ได้เสียใจมากนัก เพราะคิดว่าเตี่ยเดินทางมายาวนาน และน่าจะเหมาะสมกับการพักผ่อน โดยไม่ต้องกังวลกับการตื่นเช้ามาเปิดร้าน
อีกต่อไป ความที่ขายของมานาน ไปร่วมงานศพงานแต่งมามาก เท่ากับจำนวนซองที่ผม พี่น้อง และเตี่ยเขียนชื่อตัวเองลงไป แต่ละวันจึงมีผู้มาร่วมงานศพเล็กๆ ของเตี่ยที่ลูกหลานช่วยกันจัดให้ตามอัตภาพของอำเภอ
ไม่มากจนล้นหลาม แต่ก็ไม่เหงาจนวังเวง คนเก่าคนแก่ที่ยังมีชีวิตอยู่พาตัวเองกลับมาให้พวกเราเห็นหน้าจนเกือบครบ พี่สาวและหลานสาวผมทำหน้าที่เก็บซองใส่เงินช่วยงาน พี่ชายและพี่สาวอีกคนช่วยกันลงบัญชี
บางวันในยามค่ำ ผมหยิบซองเปล่าที่ลงชื่อผู้คนมากหน้าหลายตาในตลาดทั้งที่ผมรู้จักและไม่รู้จักขึ้นมาอ่าน บางคนไม่ได้บอกชื่อจริง แต่บอกจุดอ้างอิง เช่น แอ๊ว หน้าวัด หรือ พัท บ้านล่าง ซองจดหมายส่วนใหญ่ไม่แตก
ต่างจากที่ผมเคยเห็นเมื่อตอนเด็ก ส่วนใหญ่เขียนชื่อด้วยลายมือง่ายๆ ธรรมดาไม่หรูหรา ไม่มีลายมือวิจิตรของครูวิสูตร ครูอำนวย และอีกบางครู ด้วยหลายคนล้วนลาลับ หน้าที่เขียนป้ายกำหนดการงานศพจึงตกเป็นของ
ครูโอ๋-ครูห้องสมุดที่เขียนภาษาไทยได้งามในวันแรก ก่อนที่หลานสาวผมจะมารับหน้าที่ในวันต่อมา ลายมือที่เขียนด้วยช็อกสีบนกระดานดำ คือลายมือคัดไทยมาตรฐานที่เราพบเห็นได้ทั่วประเทศ มันอาจจะเป็นลายมือ
เรียบหรูที่เตี่ยพึงใจ เช่นเดียวกับลายมือซึ่งเขียนด้วยพู่กันปลายตัดบนพวงหรีดที่วางเรียงรายอยู่หน้าศพ
เตี่ยในภาพเขียนสีน้ำมันดูยิ้มแย้ม สีหน้าไม่มีอารมณ์หงุดหงิดหรือรำคาญใจจากเรื่องราวใดๆ ในชีวิต ผมอาจจะอุปาทาน แต่ลึกๆ นอกจากการได้พบหน้าลูกหลานจำนวนมาก รวมทั้งญาติพี่น้องที่อยู่ห่างไกลแล้ว
เตี่ยน่าจะถูกใจกับลายมือบนกระดานดำที่ตอกย้ำความเป็นทางการ ยิ่งเมื่อพิจารณาให้ทอดนาน เตี่ยอาจจะพบว่าผู้ที่มาร่วมงานส่วนใหญ่ก็หาได้มีลายมือที่ต่างไปจากเตี่ย เกือบทุกคนล้วนเขียนชื่อตัวเอง
ด้วยลายมือหวัดๆ เท่าหม้อแกง ที่จะลงมือคัดไทยหรือดีดด้วยพิมพ์ดีดนั้น แทบจะไม่มีหลายปีที่ผ่านมา เตี่ยอาจจะยินดีที่ได้เห็นชื่อลูกถูกคัดด้วยลายมือบรรจงลงในใบปริญญาบัตร (ซึ่งเตี่ยไม่เคยสัมผัสด้วยตนเอง)
เตี่ยจึงมาถ่ายรูปในงานรับปริญญาของลูกทุกคนด้วยรอยยิ้ม แต่ความจริงที่เตี่ยไม่เคยล่วงรู้ และลูกหลานเองก็อาจจะไม่เคยรู้เช่นกัน ก็คือ ลายมือหวัดๆ เท่าหม้อแกงของเตี่ย คือฟอนต์ที่งดงามที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในวันที่เตี่ยจากไปและซองมากมายได้หลั่งไหลมากองอยู่เบื้องหน้าให้ลูกหลานได้อ่านลายมือซึ่งหวัดใหญ่ ไม่ต่างจากลายมือของเตี่ยทั้งน้ำตา ด้วยเผลอคิดไปว่า เตี่ยเคยต่อว่าเพราะลายมือที่จ่าหน้าไม่ถูกใจ
Father’s Font
Pinyo Trisuriyatamma
(Translated by Jananya Triam-Anuruck)
My father was a Chinese man. He did not have a chance to study much as he had to flee from wars and famine to Siam with his father (my grandfather).
While he was able to read and write Chinese, his Thai capacity was that of students from primary level. Although he could place orders for goods from Bangkok,
write delivery bills and do the book-keeping of his small grocery without difficulty, I believe, deep down inside, he was never satisfied with his handwriting.
His Thai characters were untidy and very large, so large that my teacher at school called them soup-pot letters. Along with sense of sarcasm and humour,
I also felt a sense of mockery. My father must have known these weak traits; thus, whenever he had to go to someone’s wedding or funeral, he always called for my service.
He would ask me to take from the shop’s cabinet an envelope on which I had to write his name in large characters along with his long last name.
Nonetheless, no matter how determined I was in making his name look graceful, my father was not always pleased. When he found it beautiful, he would just simply put money
inside that envelope and left the house without saying a word. Sometimes, with the same handwriting, he would complain that it looked not pretty because I did it playfully.
I had to write his name again and again until he was happy but if it was still not what he wanted, he would be upset and ended up by writing those untidy soup-pot letters
of him instead.
To think back, in my father’s mind, those untidy and large characters were not unique identity which people nowadays seem to be proud of, but impoliteness which ought not
to appear in public, especially in important events. In fact, not many people would see his handwriting - only some receptionists and few hosts, much fewer than those
who had to read his bills. Still, when it came to sacred rituals such as weddings and funerals where all people from the community gathered, the writing on the envelope
should be neat and elegant just like Thai traditional handwriting a strict Thai-language teacher made his or her students practice.
This traditional handwriting in my generation was formed by lines similar to Thai design patterns with flicked tails, the kind we usually see in most academic certificates.
Despite its delicacy and beauty, in real life, people hardly write in this elaborate style. Even strict teachers have to adjust their writing to be practical on blackboards.
Handwriting is a mixture of chemical system of thoughts and physical movement of the body. It varies among most of us resulting in hundreds thousands of styles.
Despite difference, we can still communicate without discomfiture.
When I reached grade seven, there was a drawing class taught by Ajarn Nikom Thaibumrungwiwat (who already passed away). Motivated by his diligence, our traditional
handwriting was enthusiastically adjusted. In addition to perspective drawing, Ajarn Nikom introduced us to a style of writing favoured in architectural sketch.
Practicing it again and again, I found that the handwriting of my classmates and I began to change. With some slight diversity, as a whole, our handwriting was
under the same apprenticeship of Ajarn Nikom’s academy.
However, Nikom’s font did not last long. When we were in grade eight, the popularity of a film directed by Supaksorn shrouded the teenager’s world. It helped make
the music band McIntoch and a new star called Orapan Panthong rise to fame. Furthermore, Niyai Ruk Nuksuksa, a series of youth novel, and other books of the same kind,
swiftly blew the new cute and round font to my small hometown. From Nikom’s style, all of my female classmates adopted Supaksorn characters in their writing at the time
when no one knew what the word ‘font’ meant.
The development of writing style continued in grade nine when we welcomed a new friend from Bangkok. She brought with her a new style of font that was very popular
among Bangkok students. Sweet kind of Thai and English letters were widely copied. My classmates’ handwriting looked so similar that it was hard to differentiate one from
another when they presented their vocabulary cards in front of the class (besides the fact that half of the students did not care to do their task and borrowed cards from others
until there were no new vocabularies, which eventually made our teacher fed up).
Although these trendy styles of writing were easy to read, they surely upset most Thai-language teachers. Because of their playfulness and roundness, these fonts scarcely
appeared on academic certificates or formal documents. We still preferred writing service from our teachers who would spend time in the night after teaching writing down the
name of each graduate untiringly with their big fountain pens.
In the district where I lived, besides Thai-language teachers, few art teachers became leading font designers of the whole community. When there were temple fairs, annual
fairs or parades, these few teachers would be called in to write banners and posters. Their fonts were the kinds usually found in most official notice boards and temples’ banners
which seemed to be under the same national standard. I used to bike to see these teachers write banners. Although they came from different schools, they were well acquainted.
Kru Wisut and Kru Amnuay taught at elementary schools while Ajarn Tuanthong instructed secondary students.
Kru Wisut was an art teacher at a municipal school. His wife was very good at cooking Thai dessert. She would make her dessert at dawn and carried it to sell from house to
house late in the morning. What I remembered best was her bananas in syrup. The bananas were always in red-brown colour, not too soft or too hard, and were boiled in syrup
just enough to make the pulp red to the inside. No one in the area could compete with her about Thai dessert. She was also famous for her delicious rice cooked with coconut
milk and papaya salads. My mother usually bought only the rice. Its taste and newly-cooked smell were still lucent in my memory until today. It was a pity that I had never tried
her papaya salads for they were like taboos for my mother who cares for cleanliness more than anything. Thus, in my childhood memory, there was no taste of spicy papaya
salads, which makes me not crazy about them like most Thai women. What still linger in my mind are the handwriting of Kru Wisut and the coconut rice of his wife.
For Kru Amnuay, I was told by the other teacher Kru Samruay not to call Kru in front of any names ending with –uay sound to avoid dirty play of words in Thai language. Instead
of Kru, we should call them Ajarn. Still, people continued to call Teacher Amnuay ‘Kru Amnuay’ anyway.
Kru Amnuay rented a house in the old market area next to my friend’s so I often visited his place. Inside the house, besides common kitchenware, there was a big pile of
cartoon books which he willingly bought for his daughter. Since he and his wife could not have children, his wife allowed him to have a second wife. The second wife lived
peacefully in the same house and gave birth to a baby girl. Both wives helped raise the child and it seemed that the first wife loved the girl more. The whole house was never
set on fire or fight. Thus, in addition to his beautiful handwriting, I think Kru Amnuay also specialised in keeping space both between letters and in relationship. It was hard to
find anyone who could balance life like him.
Both Kru Wisut and Kru Amnuay were teachers from primary schools. When we reached the secondary level, all Kru changed to be Ajarn. Ajarn Tuanthong was hence the only
art teacher who was called Ajarn among the three teachers. Besides ability in drawing and painting, Ajarn Tuanthong and his friends formed a music band - the only band in
our district. They were called to perform in almost occasions from weddings, Christmas and New Year parties to school festivals. My friends and I grew up with his band until I
finished grade nine and left my hometown to study in Bangkok, few years after its 200-year-old celebration.
Till today, I have been away from home for more than 20 years. When I was accepted to Chulalongkorn University, the Faculty of Commerce and Accountancy where I studied
was among the first spots in Thailand to have computers. (This pioneering version of gadgets should be reserved in a fine museum – if only our country has one as such.) At
that time, notebook computers did not exist. Even personal computers or what we often call PC were not widely available. When one had to write a report, if he did not want to
work with a typewriter, he had to use the faculty’s computers with the software called CU-Word, not Microsoft Word. This CU operating system started with the song
‘Maha Chulalongkorn’ and did not have many fonts to choose from as in modern software. As I remembered, most of them were those kinds of traditional handwriting
we were familiar with.
In 1992, when I started my career as a reporter at Manager Newspaper, the whole editorial team changed to work with McIntosh computers. (How a popular music band in my
teenage years turned to be a stylish computer band is curious.) The Manager’s McIntosh computers were in grey colour and not very grand but worked well and had much more
fonts to explore. The developed system made it easy to set our letters italic, bold or underlined just by clicking at option buttons. As a result, news reported in italic, bold and
underlined letters came about in this period including the characteristic style of Manager’s news that usually ended sentences with many exclamation marks (!!!!) and closing
headlines with exclamation alternating with question marks (?!?). I myself used both marks for a long while until I explored the world more and became less timid. Not easily
frightened as before, those exclamation and question marks gradually disappeared from my writing. Even when it was a real question, I sometimes did not bother to put a
question mark behind it.
Siamrath Newspaper once applied this technique of playing with letters in M.R. Kukrit Pramoj’s columns both that in page five and ‘Soi Suanplu’. The difference was that at the
time, there were no computers; therefore, writers and reporters had to start new paragraphs frequently to organise the rhythm of reading, instead of letting stories flow
endlessly. In addition, in the process of typesetting, they would use different sizes of characters to highlight what was important in headlines, a method similar to the usage of
bold and italic characters at present. Reading M.R. Kukrit’s columns thus gave pleasure more than other common articles. Besides the writer’s knowledge and witty use of
language, we had to thank the skills of those typesetters who filled the writing stage with both yapping punches and hooks.
This included the knock-out blow at the end of the column by using bold-type characters. This distinctive style of M.R. Kukrit’s columns still stirs the nerves of writers until
today. I just finished the publication of ‘The Shadow of Time in the Life of ’Rong Wongsawan’ - the book that Khun ’Rong wrote in memory of M.R. Kukrit. This chance allows me
to witness the authentic handwriting of M.R. Kukrit as well as Khun ’Rong. The sophisticated style implies that they must be written by learned men whose styles surely differ from
those of oversea Chinese who have never received any high education.
Although Khun ’Rong maintains his unique character of writing manuscripts on a typewriter, he still chose to convey his feelings in letters written by hand. His writing style is
said to have disturbed Thai-language teachers around the country but his handwriting is very clear and easy to read with a glimpse of contemporary feature. It may not be
proper to write on official boards or temples’ banners but prevailing enough to catch the eyes of almost everyone who came to see me at the office.
After all, they may be only characters written on a big envelope addressing to an ordinary receiver but its meaning grows as the letter was sent from a highly respected writer
and master of language styles who has inspired many generations of Thai writers.
When M.R. Kukrit passed away in 1995, as a reporter from an English newspaper, I attended the funeral at Wat Benjamabopit on the first day. The funeral at the royal temple
was neat and elegant to agree with the man’s rank. The memorial books were published deliberately similar to those distributed in his birthday which were usually filled with
beautiful pictures and the characteristic signature recognisable to most Thai people.
Several years ago, I paid a visit to Khun ’Rong. When I turned a publisher, Khun ’Rong’s health had deteriorated that he had to stop writing. But with inspiration from a young-
generation writer as Prabda Yoon, Khun ’Rong’s first piece of writing after recovery was published in Open House – a bookgazine series that my friends and I helped generate
following the path Khun ’Rong had paved in the past. These days Khun ’Rong would call from time to time to ask how we are doing including the day my father was gone.
My father passed away at the age of 85. Although some shed tears, we were not in much grief for we thought that he had walked a long way and thus should finally rest in
peace without worry about getting up early to open his grocery. As the shop had opened for a very long time and he had attended many weddings and funerals - in the same
amount as those envelopes on which we wrote his name, each day there were people coming to my father’s small funeral which his offspring helped organised.
Not too many to feel crowded and not too few to feel lonely.
Most of the elderly we used to see when we were small made it to the funeral. My sisters and nieces were responsible for collecting envelopes. Other brother and sister recorded
the account. Someday at night I would pick up those empty envelopes transcribed with various names, some I knew, some I did not. Several people did not write down their real
names but used some reference such as Aaew – Na Wat (in front of the temple) or Pat – Banlang (the lower area of the district).
In fact, most envelopes were not different from what I experienced when I was a child. Their names were in simple handwriting, not neat and elegant, nothing like exquisite
writing of Kru Wisut, Kru Amnuay or some other teachers as some of them already passed away. The task of writing the funeral’s banner was passed on to Kru Oh – a librarian
whose handwriting was also beautiful. My niece took responsibility the days later. The writing on the blackboard and wreathes was that typical of Thai traditional style, neat and
elegant as my father would have wanted.
His portrait in oil painting looked pleasant, without any sign of frustration or anger in life. It might be just my assumption but besides being surrounded by members of family,
the formal kind of handwriting on the blackboard must have made my father happy. He would also find out that handwriting of those who attended his funeral did not much
differ from his own. Most of them had untidy soup-pot letters as well. Letters that were typed or written in traditional Thai-style were very rare.
In the past, my father might be happy to see his children’s names written beautifully on their graduate diplomas (the thing he had never had first-hand experience). He would
come to our graduation ceremonies with smiling face.
Nonetheless, the truth that he and his children may not yet realised is that his untidy soup-pot letters are the most beautiful font, especially in the day that he was gone and lot
of envelopes piled in front of his children who read those untidy big-pot letters similar to their father’s with tears for they reminded them of the time when their father
complained because the writing on the envelope they wrote for him was not beautiful enough.
Posted by Tik Lawrachawee at Tuesday, December 16, 2008 0 comments
Labels: Article, Yes I am Not
| คำนิยมจากสูจิบัตรนิทรรศการ Yes, I am not โดย วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ |
รู้จักกันมา 6-7 ปี เข้าใจว่าผมจะไม่เคยถาม สันติ ลอรัชวี เลยสักครั้ง..
ว่าทำไมเขาถึงตั้งชื่อบริษัทของเขาว่า ‘ภาคปฏิบัติ’ (Practical)
ชื่อบริษัทบอกบุคลิกนิสัยไปจนถึง ‘สิ่งที่อยู่ในใจ’ ของเจ้าของบริษัทได้--ผมเชื่อเช่นนั้น
อย่างบริษัทแรกในชีวิตที่ผมตั้ง มีชื่อว่า Day After Day ผมคิดว่ามันมีนัยยะของความโรแมนติกอยู่
(คุณลองพูดออกเสียงว่า “วันแล้ววันเล่า..วันแล้ววันเล่า” ซ้ำๆ ดูสิ มันฟังเหมือนนิทานดีนะ)
บริษัทที่สอง-ซึ่งเป็นบริษัทที่ผมทำอยู่ในปัจจุบัน ผมให้ชื่อมันว่า Day Poets ที่มาคือผมชอบหนังเรื่อง Dead Poets Society มาก
รู้สึกว่ามันเป็นหนังที่มีพลังและความฝัน สอดคล้องกับสิ่งที่ผมเชื่อและชอบ เลยเอามันมาดัดแปลงเป็นชื่อบริษัท (ทั้งๆ ที่ไม่ถูกหลักไวยากรณ์สักเท่าไหร่)
ผมรู้จักสันติในฐานะอาจารย์สอนศิลปะและออกแบบ ลูกศิษย์คนหนึ่งของเขาเป็นคนแนะนำให้รู้จัก พร้อมคำบอกเล่าคุณสมบัติแนบท้ายว่า
“อาจารย์ติ๊กเป็นอาจารย์ที่ทันสมัย วัยรุ่นดี แล้วก็เก่ง” ได้คุยกับเขาแล้วผมก็เห็นจริงตามนั้น
เราเคยร่วมงานกันหลายครั้ง ผมเคยเอาโปรเจกต์ลูกศิษย์เขามาพิมพ์เป็นหนังสือเล่มโดยให้เขาเป็นบรรณาธิการ
เขาเคยชวนผมไปเป็นประธานเปิดงานศิลปนิพนธ์ของนักศึกษา แล้วก็เป็นกรรมการตัดสินหนังสั้น ผมเคยให้ทีมของเขาออกแบบสมุดบันทึก
ให้สำนักพิมพ์ของผม เขาเคยสัมภาษณ์ผมลงแผ่นพับศิลปะของเขา ฯลฯ
ได้ร่วมงานและเห็นฝีมือกันแล้ว ผมคิดว่าผมชอบ ‘สไตล์’ ของสันติ (หรือจะพูดอีกอย่างว่าสไตล์สันติเป็นแบบที่ผมชอบก็ได้)
เท่าที่ติดตามมา ผลงานแต่ละอย่างของเขาจะไม่โชว์ออฟจนออกนอกหน้า ไม่มีรายละเอียดเยอะแยะยุ่บยั่บ แต่ออกไปในทาง เรียบ น้อย แล้วก็เท่
ขณะเดียวกันก็มีความพอดีและมีคอนเซปต์ชัดเจน เป็นลีลา Less Is More แบบที่ผมชอบ (อย่างงานชุด “Yes, I am not.” นี่ก็เข้าข่ายที่ว่า)
อีกอย่างที่ผมชอบคือ สันติไม่ใช่คนขี้คุย แต่เป็นนักลงมือทำ พูดง่ายๆ ว่า พูดน้อยแต่ต่อยหนัก เขาเป็นคนรู้เยอะ ทฤษฎีแน่น
แต่ให้ความสำคัญกับการลงมือสร้างสรรค์
มันออกมาจริงๆ มากกว่า ซึ่งผมก็ถูกใจคนอย่างนี้อีกนั่นแหละ เห็นด้วยกับผมไหมว่าโลกเรามีพวกดีแต่โม้มากเกินไปแล้ว?
ถึงตอนนี้ ผมคิดว่าผมพอจะเดาออกแล้วว่าทำไมสันติถึงตั้งชื่อบริษัทว่า ภาคปฏิบัติ
ในอนาคต..ถ้าสันติอยากจะเปิดบริษัทอีกสักบริษัท ผมขออนุญาตตั้งชื่อให้ว่า บริษัท ต่อยหนัก จำกัด
วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์
ผู้ก่อตั้งนิตยสาร a day
Foreword
I have known Santi Lawrachawee for 6 - 7 years,
but I’ve never asked him why he named his company ‘Practical.’
I do believe that the name of the company signifies the owner’s personality and ‘things in his mind.’
For instance, the first company I owned was named “Day After Day”. I think it implies a romantic aspect.
(Let’s pronounce the word, “day after day…. day after day” repeatedly, it sounds like a tale). The second
company where I currently work was named “Day Poets.” It was inspired by my favorite movie, Dead Poets Society,
which is perceived as being full of power and dreams, and consonant with what I believe and like. Therefore, it
was adapted to be my company’s name (even though it is grammatically incorrect.)
I have known Santi as an arts and design lecturer. One of his students introduced him to me with such a
remark that “Ajarn Tik is a modern, smart, and young at heart lecturer.” I do agree with that student after having
a talk with him. I worked with him several times. I published his student’s project in a book and asked him to be
an editor. He asked me to preside over his students’ art thesis exhibition and to be the judge for a short film
contest. I asked his team to design a notebook for my printing house. He also published my interview in his art
printed matter, etc.
Witnessing his ability and collaborating with him, I think I like Santi’s style. (In other words, Santi’s style
is the style I like.) Following his works, I found out they did not obviously show off and did not have so many
details, but they are simple, small and cool while at the same time moderate with a clear concept. His is the
“Less is More” style that I like. (“Yes, I am not” also represents such style). Another thing that I like is that Santi
is not a braggart but a practitioner. In other words, he is small talk but strong punch. He is knowledgeable with
a strong theoretical background, but he put more emphasis on practice. I admire the person possessing these
characteristics. Do you agree with me that there are too many braggarts in our world?
Finally, I would like to thank Santi for giving me an honor to write this foreword.
If, in the future, he decides to establish another company, please let me name it
“The Strong Punch Co.,Ltd.”.
Posted by Tik Lawrachawee at Tuesday, December 16, 2008 0 comments
Labels: Article, Yes I am Not
| บทความจากสูจิบัตรนิทรรศการ Yes, I am Not โดย อนุทิน วงศ์สรรคกร |
นี่คือ“ข้อมูล”
This is data.
อนุทิน วงศ์สรรคกร
Anuthin Wongsunkakon
เรียบเรียงและแปลโดย เจิมศิริ เหลืองศุภภรณ์ และ ภูมิ รัตตวิศิษฐ์
Edited and Translated by Jermsiri Luangsupporn and Poom Rattavisit
16 May 2008
๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑
การส่งต่อของข้อมูลเป็นเรื่องที่เราคุ้นเคย และสามารถพบเห็นได้โดยทั่วไป โดยปรกติแล้ว ข้อมูลมักจะถูกแทนความหมายว่าเป็นสิ่งมีค่า ซึ่งมันจะไม่มีค่าเลยถ้าปราศจากผู้รับ
เพราะข้อมูลที่ไม่เกิดการส่งต่อ ก็จะทำให้ค่าของมันเป็นเพียงความลับ (ซึ่งในบางทีกลับถูกมองว่าเป็นข้อมูลที่มีค่ามากพิเศษ) หรือเป็นเพียงการบันทึกของผู้สร้างข้อมูล
ในทางกลับกันการสร้างข้อมูลต้องนำข้อมูลอื่นจากหลากแหล่งมาประกอบหรือเปรียบเทียบเพื่อนำมาสู่ข้อมูลใหม่ ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าสิ่งที่เรียกว่าข้อมูลนั้น
ตามธรรมชาติของมันคือการเปลี่ยนถ่ายและการแพร่กระจายตนเองอยู่แล้ว ถึงแม้จะถูกเก็บในรูปแบบความลับก็ตาม ในที่สุดก็ไม่อาจจะหนีพ้นข้อเท็จจริงนี้
การออกแบบไม่ว่าจะเป็นสาขาไหนก็ล้วนเป็นการกระจายข้อมูลเช่นกัน อาจจะเป็นในรูปแบบที่มากกว่าการพูดหรือการเขียนเพื่อสื่อสาร นักออกแบบที่ดีจึงน่าที่จะพูดและเขียนได้ดีด้วย
เพราะต้องนำมาประกอบกับการสื่อสารทางภาพ และการสื่อสารทางอารมณ์ผ่านผิวชั้นนอกของงานออกแบบซึ่งอยู่บนพื้นฐานของศิลปะ อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นการสื่อสารความรู้สึกทางด้านนามธรรม
ผ่านสี รูปทรง และองค์ประกอบอื่นๆ
นักออกแบบทุกวันนี้ยังมีปัญหาพื้นฐานที่เกี่ยวกับการพูดและเขียน ซึ่งเป็นรากที่แท้จริงของปัญหาการออกแบบที่พบเจอในชีวิตประจำวัน เรามักลืมไปว่างานออกแบบก็คือการสื่อสารชนิดหนึ่ง
เหตุที่ทำให้เราลืมๆ กันก็เพราะ การเกิดขึ้นเป็นนิจของรูปประโยคที่ไม่ดีแต่สุดท้ายมันก็ยังพอที่จะสื่อสารได้ จึงทำให้เส้นกั้นระหว่างความเป็นปัญหาและความไม่เป็นปัญหาดูไม่ชัดเจนไปอย่างถนัดใจ
ผนวกกับการที่เรามักใช้แนวคิดแบบรอมชอมเหมารวมเอาว่า “การออกแบบไม่มีถูกและไม่มีผิด” คำกล่าวอ้างความไม่ถูกแล้วก็ไม่ผิดนี้เอง ที่เป็นตัวลงโทษนักออกแบบอย่างเงียบๆ เสมอมา
การเป็นเหมือนคำสาปให้ทำอะไรก็ได้เพราะความไม่ชัดเจนของเส้นแบ่ง ซึ่งเราใช้ประโยคนี้จนเคยชินและเกิดการเพี้ยนทางความหมายและลักษณะการใช้
หากจะเปรียบเทียบข้อมูลเป็นเนื้อหา ข้อมูลก็คือแกนสำคัญ เป็นใจความที่จำเป็นต้องมีสิ่งที่มาบรรจุเพื่อการขนส่ง เปลือกนอกที่นำมาห่อ และจัดเตรียมเพื่อการขนส่งข้อมูล ก็คือการออกแบบนั่นเอง
ไม่ว่าจะเป็นแค่ปกรายงาน การเรียงหน้ากระดาษของเลขานุการ หรือการจัดบอร์ดในของนักเรียนมัธยม ไปจนถึงนักออกแบบอาชีพในบริษัทออกแบบชั้นนำ ก็ล้วนแล้วแต่อยู่บนหลักการเดียวกันนี้
หากจะต่างกันก็น่าจะเป็นที่ทักษะการนำเสนอ ซึ่งมีชั้นเชิงต่างกัน เพราะผู้ที่ผ่านการศึกษาการออกแบบย่อมได้เปรียบในเรื่องของการสร้างเปลือกที่สวยงาม
ขณะเดียวกันเราไม่ควรเข้าใจว่าหน้าที่ของนักออกแบบคือการสร้างเปลือก เพราะการที่จะสร้างสิ่งที่ใช้บรรจุอะไรสักอย่าง มันคงเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่ทำความรู้จักกับสิ่งของที่จะนำมาบรรจุภายใน
การทำความเข้าใจกับสิ่งที่จะนำมาบรรจุนี้เอง เป็นสิ่งที่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินทางการออกแบบ เพราะมันเป็นการนำมาซึ่งข้อแม้และเหตุผลของการออกแบบเปลือกนอกที่จะนำพาข้อมูลไปสู่จุดหมาย
ฉะนั้นนักออกแบบก็ควรที่จะมีความสามารถสูงในการจัดการกับข้อมูล แต่ในสภาพการเรียนการสอนออกแบบจริงๆ ในระดับอุดมศึกษา เรายังให้ความสำคัญกับส่วนนี้น้อยมาก
เมื่อการจัดการข้อมูลไม่ได้ประสิทธิภาพอย่างที่ควรจะเป็น จึงเกิดสิ่งที่เรียกว่าการสูญหายทางข้อมูล แต่เราอย่าสับสนกับการละข้อมูลบางส่วนที่คิดว่าไม่จำเป็นออก เพราะอาจจะทำให้เยิ่นเย้อ หรือเป็นสิ่งที่ไม่มี
ความจำเป็นที่ต้องสื่อสารด้วยเหตุผลทางการตลาด การสูญหายของข้อมูลกว่าเก้าสิบเปอร์เซ็นมาจากการที่นักออกแบบไม่มีความเชี่ยวชาญเพียงพอในการย่อยหรือย่อข้อมูล ในบางกรณีอาจจะควบรวมกับ
นักการตลาดที่มีวิสัยทัศน์แคบ เราจึงมักพบปัญหานี้ได้บ่อยๆ กับการบรีฟงานจากลูกค้า หรือตัวแทนลูกค้าสู่นักออกแบบหรือตัวแทนนักออกแบบ บางครั้งยิ่งเกิดการพูดคุยบ่อยครั้งหรือผ่านหลายบุคคล
ก็จะทำให้เกิดการผิดเพี้ยนของข้อมูล การย่อยและย่นย่อในขั้นการออกแบบก็จะมีปัญหา ยิ่งเจอนักออกแบบที่มีทักษะจัดการกับข้อมูลต่ำ ก็จะนำมาสู่โศกนาฏกรรมการสื่อสาร
หากจะเปรียบเทียบการสูญหายของข้อมูลให้เป็นภาพชัดเจน ก็คงไม่ต่างอะไรกับการเล่นเกมบอกต่อ เมื่อบอกต่อๆ กัน เราต้องพึ่งพาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่อาจจะเป็นข้อมูลมือสอง สาม หรือสี่
ยังไม่นับความน่าเชื่อถือของผู้ส่งสารเอง เมื่อจบเกมจึงมักพบว่าการโอนถ่ายของข้อมูลจากต้นทางสู่ปลายทาง เกิดความไม่ชัดเจนในผู้เล่นเกมคนใดคนหนึ่ง นำไปสู่ข้อความหรือใจความที่ผิดผลาด
เช่นเดียวกันกับชีวิตจริง การประชุมที่ดี ครั้งเดียวก็อาจจะเพียงพอกับการทำงาน และย่อมดีกว่าการประชุมหลายครั้งโดยเกินความจำเป็น
เมื่อข้อมูลมาถึงมือ นักออกแบบที่ดีควรมีคุณสมบัติในการชั่ง ตวง วัด เพื่อพิจารณาว่าสมเหตุผลหรือไม่ ฉะนั้นนักออกแบบจึงจำเป็นต้องมีทักษะความรู้ด้านอื่นๆ ด้วย เช่น ความรู้รอบตัว การตลาด
การประชาสัมพันธ์ และแน่นอน ทักษะทางการสื่อสาร(โดยอยู่บนพื้นฐานของสุนทรีย์) มิเช่นนั้นเราจะมองไม่เห็นความสมเหตุสมผล หรือการตกหล่นของข้อมูล หากนักออกแบบไม่สามารถพินิจวิเคราะห์
ก็คงไม่ต่างอะไรกับการรับงานมาแล้วก็ทำตามโจทย์ เสมือนว่าไม่ได้ใช้สมอง งานใดที่ดูเหมือนไม่ได้ใช้สมองก็จะถูกสังคมมองว่าเป็นงานที่ไม่ค่อยมีความสำคัญ อาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่การออกแบบ
(โดยเฉพาะการออกแบบสิ่งพิมพ์) ในบ้านเรา จึงถูกมองว่าเป็นเรื่องหรืออาชีพที่ไม่สำคัญเท่าไรนัก ดูเหมือนว่าใครจะทำก็ได้
ธรรมชาติของการถ่ายทอดข้อมูลอธิบายได้ดังนี้ การป้อนข้อมูลด้วยการสื่อสารทางวาจาผ่านการรับฟัง การรับฟังถูกบันทึกเป็นการเขียน การเขียนต้องอาศัยทักษะทางด้านภาษาเพื่อให้ข้อมูลคงสภาพเดิม
ได้มากที่สุด ผู้รับข้อมูลผ่านทางการบันทึกด้วยภาษาก็ต้องมีทักษะทางการอ่านและการทำความเข้าใจ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกัน จะเห็นได้ว่าหากทักษะการใช้ภาษาทั้งในด้านของทักษะการเขียนหรืออ่าน
ล้วนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการคงอยู่ของข้อมูลเดิม
เมื่อพิจารณาขั้นตอนการเดินทางของข้อมูลดังที่กล่าวมา เราจะพบว่าจุดอ่อนของการถ่ายเทข้อมูลอยู่ที่ตัวมนุษย์นั่นเอง ความผิดพลาด คลาดเคลื่อน ที่เกิดขึ้นจากทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ที่ไม่เท่ากัน
ยังไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดั้งเดิมโดยเจตนา อย่างเช่น การเสนอข่าวที่ตั้งอยู่บนความคิดเห็นส่วนตัว มีความคิดแบบปัจเจกหรืออคติเข้ามาผสม (bias) ก็จะทำให้ข้อมูลที่น่าจะเป็นข้อเท็จจริงไม่สามารถ
ข้ามผ่านมาได้ ผู้รับสารจึงต้องใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูลสูง และต้องมีการเปรียบเทียบแหล่งข้อมูล บวกกับข้อด้อยของภาษาที่ผู้รับสารต้องมีทักษะ ความเข้าใจและการตีความ
จึงเป็นช่องว่างให้เกิดการเล่นข่าว (spin) นักออกแบบหรือนักโฆษณาที่ต้องเลือกพูดเฉพาะข้อดีของลูกค้าและผลิตภัณฑ์ โดยการละข้อด้อยเพื่อให้ได้ผลที่ต้องการทางการตลาด
ก็นับว่าเป็นการเล่นกับข้อมูลเช่นเดียวกัน
มนุษย์เราจึงต้องใช้ประโยชน์จากการทำสำเนาข้อมูลให้ได้บันทึกทางภาษาเหมือนกันทุกครั้ง เพื่อลดปัญหาและข้อบกพร่องของมนุษย์ในการสื่อสารให้มากที่สุด เครื่องถ่ายเอกสารหรือแม้แต่ยูเอสบีไดรฟ์
ก็ถูกสร้างขึ้นบนคอนเซ็ปท์นี้ (ต่างกันก็เพียงพื้นฐานของสื่อที่อันหนึ่งเป็นแอนนาล็อคและอีกอันเป็นดิจิตอล) จะเห็นได้ว่านิตยสารหรือหนังสือพิมพ์ก็ใช้พื้นฐานนี้เช่นกันในการนำเสนอข้อมูล แต่เนื่องด้วยขั้นตอน
ก่อนการทำเป็นสำเนาอาจจะเกิดความบกพร่องจากการเล่นข่าวหรือจากอคติได้อยู่เสมอ ทั้งที่เกิดจากความตั้งใจและไม่ตั้งใจทางการตลาด ภาระจึงตกอยู่กับผู้รับสารเอง ที่ต้องใช้ความสามารถ
และระดับสติปัญญาส่วนตัวอย่างมากในการรับข้อมูล
การเก็บข้อมูลแบบดิจิตอลดูจะได้เปรียบเพราะมีข้อดีของการทำซ้ำได้เหมือนต้นฉบับทุกครั้ง จึงเป็นที่แพร่หลายอย่างมากในปัจจุบัน จนมีการกังวลกันว่าหากมนุษย์พึ่งพาการจัดเก็บข้อมูลและการบันทึกข้อมูล
ด้วยวิธีนี้มากยิ่งขึ้น แล้ววันใดเราเกิดสูญเสียความสามารถในการเรียกใช้ข้อมูลที่เป็นระบบดิจิตอล ข้อมูลก็อาจจะสูญหายได้อย่างง่ายดาย เราหาได้ฉุกคิดไม่ว่า ระบบการบันทึกแบบดิจิตอลนี้สามารถถูก
ดัดแปลงหรือแก้ไขได้ง่ายมาก และมันก็ไม่ได้คงทนถาวรเลย ที่จริงแล้วอายุของมีเดียอย่างซีดีรอมที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในปัจจุบันนั้นสั้นกว่าการสลักหินแบบโบราณเสียอีก
ในยุคของเทคโนโลยีการสื่อสาร (Information technology) ที่ก้าวหน้า การเคลื่อนย้ายข้อมูลหรือการสื่อสารเป็นไปได้อย่างง่ายดาย รวดเร็วและมีอิสระมากขึ้น บุคคลทั่วไปสามารถตีพิมพ์หรือ
เผยแพร่ข้อมูลได้อย่างอิสระ ดังจะเห็นได้จากปรากฏการณ์ของเวบล็อคที่ได้สร้างเนื้อหาให้กับอินเทอร์เน็ตอย่างมากมาย แม้กระทั่งนิตยสารไทม์ยังยกย่องให้ผู้อ่านทุกคน ที่เป็นผู้ร่วมสร้างเนื้อหาให้กับ
อินเทอร์เน็ตเป็นบุคคลแห่งปี แถมท้ายด้วยปัจจัยในเรื่องของจำนวนผู้ที่ใช้อีเมลล์ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นมาโดยตลอดในช่วงสิบปีที่ผ่านมา
จากความง่ายในการกระจายข้อมูลดังกล่าว จึงทำให้ผู้รับสารในยุคปัจจุบันต้องใช้การกลั่นกรองข้อมูลมากเป็นพิเศษ เพราะกระบวนการของการตระเตรียมข้อมูลมีน้อยลง เวลาตรวจทานเพื่อให้ได้ข้อมูลเพื่อ
การสื่อที่มีประสิทธิภาพ ถูกตัดทอนมาสู่การกดเพื่อตีพิมพ์ในหน้าเวบล็อคด้วยเวลาเพียงแค่อึดใจของคนคนเดียว สรุปได้ว่าผู้รับสารจึงต้องใช้เหตุและผลสูงขึ้นในการรับสาร แต่ดูเหมือนว่าทักษะการรับสาร
ของมนุษย์เราไม่ได้พัฒนาไปตามพัฒนาการของการสื่อสาร วิจารณญาณในการเสพข้อมูลยังคงอยู่ในระดับเดิม จึงนำมาสู่ปัญหาความไม่เข้าใจในสังคมหลากหลายประการ
มนุษย์เป็นผู้สร้างข้อมูล ภาษา และตัวอักษรเพื่อเป็นตัวกลางในการการสื่อสาร จึงทำให้เกิดเป็นสังคม ซึ่งตั้งแต่มีมนุษย์สังคมก็ถูกขับเคลื่อนด้วยข้อมูลต่างๆ เป็นวิธีที่ทำให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยี
การค้า ศิลปะ ดนตรี การออกแบบ และอีกมากมาย หากมองเรื่องนี้อย่างเข้าใจ เราจะพบว่าความรู้เหล่านี้ก็เป็นอีกรูปแบบของภาษาที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อการสื่อสารและการถ่ายเทข้อมูล
อาจกล่าวได้ว่าการเคลื่อนที่ของข้อมูลก็คือการสื่อสารนั่นเอง ผู้ที่ทำให้ข้อมูลเคลื่อนที่ก็คือมนุษย์ การเคลื่อนที่ของข้อมูลก็คือธรรมชาติของการเป็นสังคม และในเมื่อเราทราบแล้วว่าจุดอ่อนของการเคลื่อนที่ของ
ข้อมูลคือที่ตัวมนุษย์เอง ไม่ว่าเราจะสร้างวิทยาการใหม่ สร้างเครื่องมือใหม่ที่ทำให้การถ่ายเทข้อมูลมีประสิทธิภาพเพียงใด ก็คงไม่เกิดประโยชน์ หากเราไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่ตัวมนุษย์เองได้
ความสามารถในการรับสาร ที่เป็นตัวกำหนดว่าการสื่อสารด้วยความฉลาดระดับไหนจึงจะเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย การใช้ภาษาไม่ว่าจะเป็นภาษาทางภาษาศาสตร์ หรือภาษาทางการออกแบบ
ล้วนมีความจำเป็นต้องสอดคล้องกับผู้รับสาร
ฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่า สังคมใดที่สมาชิกมีความสามารถในการรับและถ่ายเทข้อมูลต่ำ เป็นสังคมที่ต้องพัฒนาด้านการศึกษาทุกแขนง สังเกตุได้จากการออกแบบซึ่งเป็นตัวสะท้อนระดับของความสามารถ
ในการรับข้อมูลอย่างหนึ่ง เป็นมาตรวัดที่ค่อนข้างเที่ยงตรงที่ทำให้เห็นภาพโดยรวม วัดได้จากทักษะและลักษณะการใช้ภาษาทางการออกแบบที่มีความจำเป็นต้องเหมาะสมกับสังคมนั้นๆ
หากคลุมเครือเอาใจนักออกแบบกันเอง ก็อาจจะอนุมานว่านักออกแบบไม่สามารถเพิ่มทักษะในการออกแบบสื่อสารสูงกว่าที่เป็น เพราะถูกกำหนดจากสภาพแวดล้อมของสังคมโดยรวม
ในกรณีนี้คือการไม่เท่าเทียมกันทางการสื่อสาร เกิดความล้มเหลวในเชิงการออกแบบการสื่อสารนั่นเอง
-------------------------
The transfer of data is something we all are familiar with. Data is valuable only to the extent that it is delivered properly. When there is no receiver, it will lose its worth
(sometimes, however, it is the opposite, and such data becomes invaluable) or will just remain as a record of the creator.
A new data is formed by assembling and organizing pieces of data from different sources. As you can see, it is the nature of data to be transform and transmit. Even if it
remains 'hidden', it cannot hide from this fact.
Every form of design conveys some kind of message. That message or data is transferred artistically, or rather abstractly, through colors, shapes, and other elements. It
extends beyond spoken and written words; therefore, it is important that designers are able to speak and write competently since they need to communicate on a visual
level.
Even today, designers still couldn't speak or write well. It may be the root of all problems in the current design community. Designers often forget that it is their job to
communicate, possibly because of incorrect interpretation through ambiguous messages, making the line between right and wrong unclear. Moreover, the renowned
phrase, "There is no right or wrong in design," keeps designers in a whirlpool of uncertainty. We hear and use it too frequently, so often that its meanings and implications
become distorted.
If data is a product, it needs an appropriate packaging before it could be delivered. The process of creating such packaging is design. No matter if it is a cover design, a
layout of a page, an arrangement of a bulletin board by a high school student, or a well-crafted piece of design by a professional designer, they are all based on the same
principle. The difference may only be in the skill and proficiency of the person responsible.
Nevertheless, design is not just a decoration of the exterior. In order to create an appropriate package, the designer must study the product inside and out. Only when the
designer fully understand it, can he/she justifies his/her work. Thus it is essential that the designer is able to organize the data intelligently. In reality, however, many
design schools still ignore this simple idea.
When data is organized inefficiently, some pieces of data become lost. Lost, in this sense, does not mean trimming out the excessive parts - those that are insignificant
and make the message unnecessarily long. More than 90% of the data that has been lost is caused by the designer who is unable to organize it intelligently. Sometimes,
narrow-minded clients can accentuate the problem. In addition, if there is a representative, whether on the designer's or the client's part, chances are that data will be lost
on the way to the intended receiver. As a result, the process of design will be affected unintentionally and if the designer does not know how to sort it out, it will be a
catastrophe.
Think of the game, 'Whisper Down the Lane', it is an excellent example of data loss. Each player has to depend on a source that is second-hand, third-hand, or even
forth-hand, and sometimes the original source itself is inaccurate. At the end of the game, there is usually a loss of data caused by someone mishearing the message. The
same applies to the business world. If everything went smoothly, one well-organized meeting may be enough, and of course, it is better than having too many.
When designer receives the data, he/she must be able to separate the necessary from the unnecessary; therefore it is important that he/she is considerably knowledgeable
in areas such as marketing, public relations, communication, and other related fields but still on the basis of aesthetics. Designing without proper understanding is no
different than answering a question without thinking. When one answers without thinking, the answer becomes insignificant. It might be the main reason why this country
does not see the importance of professional designers.
A basic process of communication can be illustrated in the following way: A message is spoken to a listener. The listener jots it down using his writing skills. The reader
then uses his reading skills to analyze and comprehend the written data. In order to preserve the original data under these circumstances, language skills are obviously
indispensable.
Looking at it carefully, humans are the flaw of data transmission. Whatever we do, whether if it is speaking, listening, or writing, there is always a possibility of data loss.
We cannot argue with the fact that every person is on a different level of literacy. Moreover, personal opinions and viewpoints will certainly bias the original message. An
obvious example would be a news reporter speaking his/her voice while reporting to the public. When the receiver is incapable of capturing the essence of the message,
he/she unintentionally welcomes a spin. The way designers and advertisers extract and present only the benefits of a product can also be considered a type of spin.
To minimize data loss, humans need to make back up copies. Photocopy machines and USB flash drive both operate on this basis (only that one is an analog system while
the other, a digital). Magazines and newspapers also work with this idea, however, there are still chances that the data could be intentionally or unintentionally modified
prior to the back up process. In the end, it is up to the receiver to organized the final data.
The good thing about backing up digitally is that every copy is exactly the same since what is recorded are merely numbers. It is widely used nowadays, wide enough to
make us forget that we might one day unable to retrieve the stored data. Digital back up is simple and economical while at the same time can be effortlessly cracked and
modified. It comes easily and goes easily as well. A disc cannot outlive a carved stone.
In the age of information technology, the world becomes smaller and data moves faster and more freely. This phenomenon is clearly evident in weblogs where anyone can
publicize almost anything they want. Even Times Magazine honored every reader who contribute to the internet to be man of the year. Email is another great example, we
could see that the number of users constantly increases for the past ten years.
The faster data is fed, the more difficult it is for the reader to digest. Since there is a shorter time frame between the creation of the data and its publication, the extraction
process becomes rougher. Decades ago, it took days before something could be printed and publicized. Now, if takes only a single click. Our ability to receive information
should develop in parallel to technology, but sadly, it does not. We remain more or less static. Many misunderstandings in society today is a result of this condition.
In the beginning, humans created language for the purpose of communication which led to the formation of a community. Everyday we are driven by data. It is the way the
world moves. If we look at it carefully, technology, business, art, music, design etc. are all languages in disguise. They are made to communicate one way or another.
One could say that the movement of data is communication. Humans cause this movement and this is the nature of society. We know that if there is a flaw in
communication, it is in us, humans. No matter how far the medium in which data travel develops, we cannot use it efficiently until we solve our own problems.
When we create a piece of data, we need to know where our receiver stands. Not everyone is smart or foolish enough to grasp any message. Whether if it is a written or
graphic language, they should both sympathize with the receiver's educational level.
Any society that has difficulties with the flow of communication should improve their education in all areas. Design is one perfect judge in this situation. It needs to work
on the same level as the receiver, otherwise the intended message will not be delivered properly.
When the level of education is low, it pulls everything down with it. Many designers wish to contribute something to the flow of communication, to make it better. They are,
however, confined within the boundaries of a conservative society. Stepping out of those sensitive bounds may lead to a failure in communication.
Posted by Tik Lawrachawee at Tuesday, December 16, 2008 0 comments
Labels: Article, Yes I am Not
November 02, 2008
| Gra+Fiction News 7 / Nov 08 : The One Flag : Design Competition |
เป็นโครงการประกวดการออกแบบธง จัดโดย Adbusters
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม www.adbusters.org/campaigns/oneflag
A First Thing First Project
These are real targets, worthy of our problem-solving skills, ripe for our intervention.
Yet those who have the vision to rise above national and political boundaries still have no symbol to rally under.
We invite you to create a flag – free from language and well-worn clichés – that embodies the idea of global citizenship.
A symbol that triggers pride and cohesion, whether worn on a backpack, displayed on a door, or flown on a flagpole.
A symbol for anyone to declare membership in a growing and vital human cooperative.
We invite you to prove that design has a real role to play in the fate of our world.
Submissions: will be critiqued by a panel of prominent design professionals, then featured in Adbusters
and supporting design publications. The winning flag will go into production, ready for flying by the patriotic citizens of Earth. Deadline for entries is December 1, 2008.
Judges: Jonathan Barnbrook, Michael Bierut, Vince Frost, Steven Heller, Kalle Lasn, Rick Poynor, Dmitri Siegel.
More to be announced.
Posted by Tik Lawrachawee at Sunday, November 02, 2008 0 comments
Labels: Design Activities
October 29, 2008
| Design (Alone) Cannot Change (Everything) : Poster Exhibition |
Posted by Tik Lawrachawee at Wednesday, October 29, 2008 0 comments
Labels: Design Activities
October 22, 2008
| Gra+Fiction News 6 / October 08 : “Designers’ Saturday 5” |
Designers’ Saturday 5
Venue : หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
Date : 25 October 08, 13.30-17.00 น.
Ticket Info : Free Entry
Activities : Talk
Art4d ร่วมกับ บริติช เคานซิลจัดงานสนทนาทางด้านการออกแบบประจำบ่ายวันเสาร์ สำหรับครั้งนี้เป็นการบรรยายของนักออกแบบ 2 คน
ที่ทำงานด้าน Visual Communication ทั้งคู่ คนแรกคือ Vince Frost จาก Frost Design หลังย้ายจากลอนดอนมาเปิดออฟฟิศที่ซิดนีย์ได้ 3 ปี
งานออกแบบของFrost นอกจากงานออกแบบหนังสือของถนัดของ Frost แล้ว ยังมีทั้งงาน Corporate Environmental Graphic เว็บไซต์
งานโมชั่นกราฟิก,TVC, Exhibition และล่าสุดก็ต้องโปรดักท์อย่างหนังสือ Sorry* Trees และ Frost* Bamboo T - Shirt
ที่ Frost ออกแบบและผลิตในประเทศไทยวางขายทางเว็บของ Frost Design อีกด้วย!
คนที่สองคือ Javin Mo ผู้ก่อตั้ง Milkxhake สตูดิโอกราฟิกอินเตอร์แอคทีฟจากฮ่องกง ก็มีทั้งงาน กราฟิก เว็บไซต์ ทำหนังสือ สิ่ง- พิมพ์
ออกแบบนิทรรศการ ทั้งที่ ทำให้ฮ่องกง จีน และเอเชีย การัน- ตีความน่าสนใจด้วยรางวัลระดับ คุณภาพอย่าง Tokyo Type Direc - tor Club,
Young Guns และ D&AD
พิเศษสำหรับ Designer’s Saturday ครั้งที่ 5 นี้ Vince Frost และ Javin Mo จัดเวิร์กช็อปพิเศษสำหรับ นักเรียนนักศึกษาด้านการออกแบบ กราฟิก และที่เกี่ยวข้อง
สนใจเข้าร่วมเวิร์กช็อปครั้งนี้ กรุณาส่งพอร์ตโฟลิโอในชั้นเรียนมาที่ mail@art4d.com สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและสำรองที่นั่งได้ที่ (02) 260-2606-8.
***ว่าจะเอา Zembla ไปขอลายเซ็นต์
Posted by Tik Lawrachawee at Wednesday, October 22, 2008 0 comments
Labels: Gra+Fiction News
| SCG Artist & Designer Workshop 2008 : Cement|
ผมมีโอกาสเข้าร่วมเวิร์คชอปในโครงการ SCG Artist & Designer Workshop 2008
จัดโดยมูลนิธิซิเมนต์ไทย ร่วมกับ ธุรกิจซิเมนต์ เครื่อซิเมนต์ไทย SCG Cement
ที่เปิดโอกาสให้ศิลปินและนักออกแบบประมาณ 20 คน ได้ทดลองสร้างผลงานด้วยปูนซิเมนต์
โดยที่ทาง SCG สนับสนุนพื้นที่ วัสดุ อุปกรณ์ รวมทั้งบุคลากรที่มีความชำนาญเกี่ยวกับปูนซิเมนต์
ที่คอยแนะนำและช่วยเหลือ เราไปทำงานกันที่ ศูนย์เทคโนโลยีการฉาบปูน จังหวัดสระบุรี
ได้รับประสบการณ์ที่ดีและมิตรภาพใหม่ๆอีกด้วย เลยนำบางสิ่งบางอย่างที่ได้ไปทดลองทำมาแลกเปลี่ยนครับ
Posted by Tik Lawrachawee at Wednesday, October 22, 2008 1 comments
Labels: Design Activities, Works
September 25, 2008
| Communication Design 5 Class : Final Project |
ผลงานสุดท้ายของวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ 5 ที่ผมสอนคู่กับอาจารย์อนุทิน วงศ์สรรคกร
ที่ภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นชั้นเรียนที่มุ่งเน้นให้นักศึกษาที่มุมมองต่อสถานการณ์รอบตัวด้วยวิจารณญาณเชิงการออกแบบ
ความพยายามของชั้นเรียนกำลังทดลองให้นักศึกษาออกแบบก้าวผ่านสถานะของผู้เพียงแค่ส่งผ่านสาร ไปสู่สถานะของผู้ผลิตตัวบทของสารที่ต้องการจะสื่อ
มีหลายท่านอาจจะเปรียบเทียบอาชีพ Graphic Designer หรือ Communication Designer เสมือนการร้องคาราโอเกะเท่านั้น แต่สำหรับยุคสมัยที่เส้นแบ่งกั้น
ระหว่างสิ่งต่างกำลังเลือนรางและทับซ้อนกันมากขึ้น การร้องคาราโอเกะอาจจะไม่เพียงพอสำหรับนักออกแบบสื่อสาร อาจเพราะนักออกแบบสื่อสารส่วนหนึ่งมีความต้องการสร้าง
เนื้อพลงหรือท่วงทำนองที่เป็นปัจเจก จนบางครั้งเพลงหรือท่วงทำนองของผู้อื่นไม่อาจตอบสนองความนึกคิดเหล่านั้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าท่วงทำนองในร้านคาราโอเกะนั้น
มีแต่เนื้อหาและทำนองที่ซ้ำไปมาจนไม่เกิดความท้าทายใดๆ จริงอยู่ว่าศักยภาพการตอบสนองโจทย์ของนักออกแบบนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการดำรงวิชาชีพ
แต่โจทย์ที่ว่าจะเป็นโจทย์ของเราเองแทนที่จะเป็นจากลูกค้าได้หรือไม่ เป็นโจทย์ทางวิชาชีพแทนโจทย์ทางอาชีพได้หรือไม่
สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่ชั้นเรียนนี้พยายามจะหาคำตอบไปด้วยกัน...
แม้การดำเนินไปของชั้นเรียนนี้จะมีอุปสรรคอยู่สำหรับนักร้องคาราโอเกะหน้าใหม่ โดยเฉพาะหลายคนอาจจะยังร้องเพี้ยน ไม่ตรงจังหวะ การให้เสียงยังไม่เข้ากับอารมณ์ของเพลง
ก็ถูกผลักดันให้แต่งเพลงซะแล้ว ทำให้บรรยากาศในการทำงานจะตึงเครียดไม่น้อย แต่ในแง่ดีที่ผมอยากจะพูดถึง (เพราะพูดในแง่ไม่ดีไปเยอะแล้วในชั้นเรียน)
ก็คือความคิดหรือประเด็นส่วนบุคคลที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ (ในที่นี้หมายถึงใหม่ต่อนักศึกษา) ความพยายามที่จะสร้างชุดความคิดขึ้นมาก่อนที่จะทำงานออกแบบที่เป็นรูปแบบ
เพราะเดิมทีนักศึกษาเองอาจไม่เคยรู้สึกว่าต้องรับผิดชอบต่อเนื้อหาหรือประเด็นที่กำลังจะทำงานออกแบบ ‘ความรับผิดชอบเชิงรูปแบบ’ จึงกลายเป็นเหมือนหน้าที่อันจำกัดที่นักออกแบบ
พึงต้องยอมรับ และนำไปสู่การไม่ก้าวล้ำไปสู่การสร้างชุดความคิดของตนในการสร้างงานออกแบบถึงแม้ว่างานออกแบบนั้นจะเป็นงานออกแบบส่วนตัวก็ตาม อีกทั้งความคิดลักษณะนี้
ยังนำมาซึ่งความฉาบฉวยในการสร้างรูปแบบ ซึ่งเดิมทีอาจเคยถือว่าเป็นความรับผิดชอบหลักอีกด้วย
การต่อสู้กับความไม่คุ้นเคยเป็นภาพเชิงบวกที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนนี้ มีการพูดคุยกันระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนหลายต่อหลายครั้งต่อความอึดอัดทั้งหลาย
เพื่อนำไปสู่การปรับตัวของทั้งสองฝ่าย ผมอยากชี้ให้เห็นถึงความน่าสนใจของความคิดหลายความคิดที่นักศึกษาได้นำเสนอออกมา
แม้ว่าตัวผลงานเองอาจจะไม่สามารถแสดงความน่าสนใจของชุดความคิดนั้นได้เท่าที่ควร
ก็เหมือนกับคุณเริ่มแต่งเพลงได้น่าสนใจ แต่พอจะร้องเพลงของตัวเองดันร้องเพี้ยนหรือผิดจังหวะซะเอง...
ต้นฉบับ VS สำเนา
ในชั้นเรียนผมค่อนข้างสนุกเวลาพูดคุยในหัวข้อนี้ การตั้งข้อสงสัยถึงสถานะของการเป็นต้นฉบับและสำเนาของนักศึกษา
น่าจะเป็นหัวข้อหนึ่งที่ท้าทายต่อความคิดของนักออกแบบได้อย่างดี การกำกับให้สิ่งใดเป็นต้นฉบับ และสิ่งใดเป็นสำเนา ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่เลื่อนไหลจนต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน
การทำงานออกแบบเพื่อนำเสนอสถานะที่เลื่อนไหลนี้ออกมาเป็น visual communication ก็เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงตัวตนของนักออกแบบและภาวะของการออกแบบได้อย่างดี
การผลิตตรายางคำว่า ‘ต้นฉบับ’ ซักอัน เราจะพบการเปลี่ยนสถานภาพของการเป็นต้นฉบับและสำเนาอยู่ตลอดเวลา
-> นักออกแบบคนหนึ่งต้องสร้างแบบต้นฉบับของตรายางในคอมพิวเตอร์
-> จากนั้นพิมพ์ลงบนกระดาษ(สำเนาของไฟล์)เพื่อเป็นต้นฉบับให้ร้านตรายาง
-> ร้านตรายางนำต้นฉบับกระดาษไปถ่ายเป็นฟิล์ม(สำเนาของกระดาษ)
-> แล้วนำต้นฉบับฟิล์มไปทำเป็นแม่พิมพ์โลหะ(สำเนาของฟิล์ม)
-> นำต้นฉบับแม่พิมพ์โลหะไปสร้างเป็นแบบบนแผ่นยาง(สำเนาของแม่พิมพ์โลหะ)
เราก็จะได้ตรายางคำว่า ‘ต้นฉบับ’ ที่ไปประทับบนเอกสารใบไหนก็ได้ ไม่ว่าเอกสารใบนั้นจะเขียนด้วยลายมือ พิมพ์จากเลเซอร์พริ้นท์ หรือถ่ายเอกสารมา
เอกสารใบนั้นก็จะมีสถานภาพเป็นต้นฉบับทันที อ้อ! ถ้าจะให้ดี เซ็นต์ชื่อกำกับด้วย...
อีกปรากฏการณ์ที่น่าสนใจสำหรับเรื่องนี้ก็คือ ‘การปกป้องการลอกเลียนของผู้ละเมิดลิขสิทธิ์’
หลายคนคงรู้จักค่ายซีดีเพลง mp3 เถื่อน ที่ทรงอิทธิพลต่อวงการเพลงในตลาดมืด ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่มืดแถมติดแอร์ด้วย
“แวมไพร์ เรคคอร์ด” คือแบรนด์แผ่นซีดีละเมิดลิขสิทธิ์ที่รู้จักกันอย่างดี ในที่นี้ขอกล่าวข้ามความไม่เหมาะสมและจริยธรรมในการละเมิดลิขสิทธิ์
แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นปฏิกิริยาที่น่าขันของผู้ที่หาประโยชน์จากการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือ การทำสำเนานั่นเอง ปฏิกิริยาดังกล่าวนั้นคือ การกลัวการถูกเลียนแบบ
กล่าวคือ ผู้ลอกสำเนาจากต้นฉบับอื่นมา ไม่ต้องการให้ผู้อื่นมาลอกเลียนหรือทำสำเนาจากสำเนาของตน ในกรณีอาจคิดไปได้ว่า แวมไพร์ เรคคอร์ดนั้น
คิดว่าสำเนาของตนเองนั้นได้กลายเป็นต้นฉบับแห่งวงการซีดีเถื่อน และไม่อยากให้ใครมาลอกเลียนความเป็นต้นฉบับแห่งการลอกเลียนนี้
ดังนั้นจะเห็นว่าสิ่งที่แวมไพร์เห็นว่าเป็นต้นฉบับนั้นหาใช่เป็นผลงานดนตรีที่บรรจุในแผ่นซีดี แต่เป็นรูปแบบการลอกเลียนต่างหากที่ถือว่าเป็นต้นแบบ
โดยเฉพาะความพยายามให้เห็นถึงคุณภาพของการลอกเลียน (ซึ่งอาจจะอ้างว่าไม่พบในซีดีเถื่อนยี่ห้ออื่น) เช่น การใส่ข้อความเตือนลงบนปกซีดีว่า
‘ระวัง! ถ้าไม่ใช่‘แผ่นปั๊ม’โปรดเรียกเงินคืนจากผู้ขาย’ หรือ ‘ของแท้ต้องมี Vampired records บนแผ่น’
การวางมาตรฐานอีกชุดในตลาดละเมิดลิขสิทธิ์ ก็เป็นเรื่องที่ทำให้ประเด็นที่กล่าวกันมาดูเลื่อนไหลและทับซ้อน
จนทำให้คำสองคำนี้ดูจะมีความหมายในตัวของมันเองลดน้อยถอยลง
ทำให้นึกถึงการบรรยายครั้งหนึ่งของ ดร. สายันต์ แดงกลม ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ใจความว่า Original อาจเกิดขึ้นเพียงครั้งแรกและครั้งเดียวตั้งแต่โลกถือกำเนิดมา ‘นั่นก็คือตอนที่พระเจ้าสร้างโลกนั่นเอง’
อ่านยาก ภาพเกิด
ผมเคยได้อ่านข้อมูลอ้างอิงจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ที่ว่า ในการอ่านคำๆ หนึ่ง
อาจไม่สำคัญว่าลำดับของตัวอักษรในคำๆ นั้นจะเป็นอย่างไร สิ่งสำคัญอยู่ที่อักษรตัวแรกและตัวสุดท้ายที่ต้องอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
ทำให้เรายังสามารถอ่านและเข้าใจได้อย่างไม่ยากเย็นนัก นั่นเป็นเพราะเราไม่ได้รับรู้ทุกตัวอักษร แต่เรารับรู้จากภาพรวมของคำ
เช่น ‘Legibility Raserch at Cmabrigde Uinervtisy’ ก็ยังสามารถอ่านเข้าใจได้ เรียกง่ายๆ ว่าเราอาจจะจำรูปทางกายภาพของคำๆ หนึ่ง
แล้วเชื่อมโยงไปสู่ความหมายของคำๆ นั้น โดยยิ่งเมื่อเกิดความคุ้นเคยในการอ่านมากขึ้น จึงไม่จำเป็นต้องสังเกตรายละเอียดหรือลำดับของตัวอักษรทุกตัว
ก็สามารถรับรู้ถึงคำๆ นั้นได้ ส่วนเรื่องตัวอักษรตัวแรกและตัวสุดท้ายนั้น อาจจะต้องอ่านวิจัยนั้นอย่างละเอียดจึงพอจะให้ความคิดเห็นได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราจะเอาข้อสังเกตนี้มาวิเคราะห์กับภาษาไทยด้วย นั่นก็ต้องคิดเยอะทีเดียว...
ถ้าจะใช้แนวคิดจากงานวิจัยที่อ้างตอนต้นเราก็จะสร้างข้อความงงๆ ได้ว่า ‘กณุรา ดง สูบุบรี่’
ถ้าไม่เว้นวรรค ‘กณุราดงสูบุบรี่’ ก็จะยิ่งงงหนักเข้าไปอีก... แต่อ่านอีกทีก็พอได้นะ
แต่ประเด็นที่ผมจะพูดต่อจากนี้คือเรื่องความคุ้นเคยในการรับรู้หรือในที่นี้ก็คือ ‘การอ่าน’ ที่สืบเนื่องมาจากหัวข้อในการออกแบบของนักศึกษา
พูดให้ง่ายก็คืองานชุดนี้พยายามจะเปลี่ยนปฏิกิริยาแรกของคนที่มีต่อคำหรือประโยค จาก ‘การอ่าน’ ให้เป็น ‘การมอง’
เมื่อสิ่งที่คนเรามองเห็นไม่สร้างสภาวะคุ้นชินให้กับสมองว่าสิ่งนั้นคือภาษา การตอบสนองของเราอาจเปลี่ยนเป็นการมองมากกว่าการอ่าน
เปลี่ยนสภาวะจากตัวอักษรหรือคำไปเป็นภาพ สิ่งที่ผมสนใจไปกว่านั้นก็คือเมื่อเรามองไปซักพักกลับพบว่าสิ่งที่เรามองอยู่นั้น ‘อ่านได้’
ภาพที่เราเห็นกลับกลายเป็นข้อความที่เราเข้าใจได้ ความสามารถของกราฟิก ดีไซน์ ที่สามารถชะลอการรับรู้เชิงความหมาย เพื่อให้การรับรู้เชิงรูปแบบ
นั้นได้มีโอกาสเผยตัวสู่ผู้พบเห็น ซึ่งจำเป็นต้องจัดการกับความเคยชินต่อภาษาของผู้คนที่เป็นอุปสรรคสำคัญในการเข้าถึงความงามทางรูปแบบ
หลายครั้งที่ผู้คนเข้าใจว่าการออกแบบเชิงตัวอักษร (Typography) นั้นเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองการอ่านเท่านั้น
แต่ก็หลายต่อหลายครั้ง...ที่นักออกแบบพยายามนำเสนอผลงานออกแบบเชิงตัวอักษรที่ก้าวผ่านประเด็นการสื่อสารทางภาษาเขียน
กล่าวคือไม่ได้คาดหวังจะใช้ศักยภาพของคำหรือภาษาอย่างเดียว (ซึ่งสามารถสื่อสารได้โดยไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติม)
แต่ยังมองว่าตัวอักษร(ซึ่งเป็นผลผลิตการออกแบบอยู่แล้ว)ยังสามารถถูกจัดการเพื่อสื่อสารเชิงรูปแบบหรือความงาม
รวมไปถึงความสามารถในการสื่อสารเชิงอารมณ์และบริบทของการสื่อสารนั้นๆ อีกด้วย
ดังนั้นการบริหารจัดการเรื่อง ‘Ligebility’ ในงานออกแบบเชิงตัวอักษร จึงเป็นเหมือนการจัดการสัดส่วนในการสื่อสารของงาน
ระหว่างการสื่อความหมายเชิงภาษา สำนวน และอารมณ์ความรู้สึก ว่าในงานออกแบบชิ้นนั้นๆ ต้องการให้มีผลผลิตอย่างไร
สำหรับผลงานออกแบบชุดนี้ ใช้ข้อความที่เป็นคำเตือนหรือข้อห้ามสาธารณะมาใช้ การลดทอนรายละเอียดของตัวอักษรภาษาไทยให้มีความเป็นรูปทรงเรขาคณิต
อาจเป็นทางเลือกที่ดีในการที่จะสร้างสิ่งเชื่อมโยงการรับรู้จากคำไปสู่ภาพได้โดยไม่ยากนัก รวมไปถึงการจัดองค์ประกอบที่ไม่ได้เป็นไปตามครรลองแบบการอ่าน
ทำให้ผลงานชุดนี้ประสบความสำเร็จในแง่การหันเหความสนใจของผู้ดูได้
แต่ทั้งนี้ยังมีคำถามให้ขบคิดต่อได้อีกว่า เมื่อสามารถเบี่ยงเบนความสนใจจาก ‘ใจความ’ ไปสู่ ‘รูปแบบ’ ได้แล้ว
รูปแบบนั้นให้สิ่งที่มีคุณภาพทัดเทียมและชดเชยกับความฉงนที่ตัวงานได้ให้ไว้หรือไม่?
และเมื่อนักออกแบบต้องการให้ผู้ดูกลับมา ‘อ่าน’ หลังจากได้รับสารเชิงรูปแบบแล้ว ผู้อ่านจะยังจะรับใจความนั้นได้หรือไม่?
นั่นเป็นสิ่งที่ต้องการเวลาต่อไปให้กับการเริ่มต้นนี้...
ระหว่างการเตือนหรือห้ามด้วยความงามและความปราณีต กับ การขู่กรรโชกโฮกฮาก เราจะให้ความร่วมมือกับใคร?
นึกต่อว่า... ถ้าเราติดตั้งงานชุดนี้บนผนังของโถงชั้นล่างของอาคารเรียนที่นักศึกษายังนิยมสูบบุหรี่ทั้งๆ ที่มีป้ายห้ามสูบบุหรี่ติดอยู่
เราจะได้รับความร่วมมือหรือเปล่า?
ผมเดาต่ออีกว่า... ยังไงก็ยังมีคนสูบบุหรี่ใต้ตึกอยู่ดี เพราะคนบางคน พูดจาดีๆ ก็ฟังไม่รู้เรื่อง...
(จริงๆ ที่เตรียมจะเขียนมีอีกหลายโครงการ แต่ช่วงนี้ขอพักไปทำงานก่อนครับ...)
Posted by Tik Lawrachawee at Thursday, September 25, 2008 2 comments
Labels: Article, Communication Design 5 (Class)
| Gra+Fiction News 5 / September 08 : “Same Place While the Clock's Hands Pace” |
นิทรรศการล่าสุดของ ยุรี เกนสาคู จิตรกรสาวร่วมสมัยที่น่าสนใจคนหนึ่ง
ที่ชื่อ “ที่เก่าเวลาเดิน ตอน: บ้านเก่า”
เป็นผลงาน Painting Installation ที่ศิลปินพาย้อนไปสู่ความทรงจำมากมายเกี่ยวกับบ้าน
ผ่านวัตถุสิ่งของหลายต่อหลายอย่างที่เป็นร่องรอยของความทรงจำ
นิทรรศการของสาวน้อยจัดแสดงตั้งแต่วันที่ 25 กย. ถึง 25 ตค. 2551
(อังคาร ถึง เสาร์ บ่ายโมงถึงหนึ่งทุ่ม)
ณ Ver Gallery (คลองสานพลาซ่า ถนนเจริญนคร)
ติดต่อสอบถามได้ที่ 02 861 0933
Posted by Tik Lawrachawee at Thursday, September 25, 2008 0 comments
Labels: Gra+Fiction News
September 15, 2008
| Environment Friendly Kitsch : Yes, I am not!! |
(บทความนี้อุทิศให้ นศ.วิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ 5 ที่สัญญาว่าจะนำเสนอความคิดจากอาจารย์ผู้สอนด้วย)
โดย สันติ ลอรัชวี
ประเด็นเรื่องความห่วงใยสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องใหม่ของสังคม และถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงกันในวงกว้าง ไม่เว้นแม้แต่ในวงการออกแบบทุกแขนง
แต่ก็ดูเหมือนว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ กลับทวีความรุนแรงพอๆ กับอัตราการเพิ่มของกิจกรรมรณรงค์ต่างๆ ในทุกมุมโลก
ปัจจุบันกระแสโลกร้อนก็ขยายวงกว้างขึ้นไม่แพ้อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นของโลกใบนี้ ซึ่งไม่ต่างจากกระแสอื่นๆ ที่สามารถนำไปทำมาค้าขายได้
จนเกิดกระแส “Global Warming Marketing” ที่เป็นศัพท์ใหม่ในหมู่นักการตลาด
นักออกแบบกราฟิกเอง ก็เป็นอีกวิชาชีพหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ในการมีส่วนร่วมกับปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม
การที่นักออกแบบมีอิทธิพลในการกำหนดรูปแบบของงาน ไม่ว่าจะเป็นวัสดุรวมไปถึงเทคนิคการผลิต ล้วนแล้วแต่มีผลต่อปัจจัยการใช้ทรัพยากร
และการย่อยสลายทั้งสิ้น หันมามองนักออกแบบสายสื่อสารกันบ้าง ก็มีส่วนไม่น้อยในการสร้างผลงานของตนเพื่อการกระตุ้นให้เกิดการบริโภคจนเกินจำเป็น
สามารถสร้างเหตุผลสีเขียวในการบริโภคให้กับผู้คนในสังคมได้อย่างแนบเนียน ดังจะเห็นได้จากยอดขายในอีเบย์ของกระเป๋า
‘I’m not a plastic bag’ ที่ออกแบบโดยนักออกแบบชาวอังกฤษ Anya Hindmarch หรือแม้แต่กระเป๋าผ้าดิบที่แจกและขายกันอย่างครึกโครม
โดยห้างร้านและหน่วยงานต่างๆ ที่เป็นเหตุทำให้เกิดการเฟ้อของจำนวนกระเป๋าโลกร้อนในแต่ละครัวเรือน สิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดว่า
กระแสโลกร้อนได้ผสานเข้ากับวัฒนธรรมการบริโภคอย่างแนบแน่น โดยมีนักออกแบบเป็นผู้เชื่อมความสัมพันธ์ ทำให้เกิดสภาพการณ์ที่ขัดแย้งกัน
ระหว่างเป้าหมายของพฤติกรรมกับรูปแบบของพฤติกรรม ยังรวมถึงผลกระทบของพฤติกรรมนั้นด้วย
จากข้อสังเกตดังกล่าว นำมาสู่การตั้งคำถามไปยังที่งานออกแบบ นักออกแบบ รวมไปถึงประชาชนทั่วไปที่บริโภคหรือเสพงานออกแบบ
ว่าคนส่วนใหญ่ในปัจจุบันใช้งานออกแบบเชิงอนุรักษ์เป็นเครื่องอำพรางพฤติกรรมส่วนตัวที่สวนทางกับแนวทางรณรงค์หรือไม่
หรืองานออกแบบสื่อสารได้แสดงอำนาจของมันให้ผู้คนหลงเชื่อว่าการได้ครอบครองงานออกแบบเชิงอนุรักษ์นั้น เสมือนราวกับการได้มีจิตสำนึก
และพฤติกรรมเชิงอนุรักษ์อย่างเบ็ดเสร็จแล้วเช่นกัน ขณะที่นักออกแบบสื่อสารจำนวนหนึ่งพยายามสร้างเครื่องมือสื่อสารเชิงสัญลักษณ์
(จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม) ดูเหมือนจะได้การตอบรับอย่างดีจากผู้คนที่กำลังแสวงหาช่องทางลัดเชิงพฤติกรรมหรือการแสดงตัวตนเชิงอนุรักษ์
โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิมของตนมากนัก โดยหวังว่าปัญหาต่างๆ กำลังจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นจากการสนับสนุน(เครื่องมือ)
การสื่อสาร โดยที่เป็นการขยายผลทางการสื่อสารแต่ไม่ได้เป็นการขยายผลทางพฤติกรรม เพราะน่าจะเป็นเรื่องที่ง่ายและดูดีกว่าถ้าผลักภาระ
ให้ผู้อื่นเป็น“ผู้ปฏิบัติ” โดยกำหนดบทบาทในฐานะ“ผู้ส่งสาร”ให้กับตนเอง
^ แม้แต่สตูดิโอของผู้เขียนเองก็มีส่วนในกระแส Global Warming Marketing :P
พอกล่าวถึงบทบาทของ“ผู้ส่งสาร” ก็ต้องยอมรับว่าเป็นบทบาทที่มีเสน่ห์และน่าแสดงอยู่ไม่น้อย เพราะนอกจากดูเหมือนจะสะดวกสบายกว่าแล้ว
ยังสอดคล้องกับวิถีชีวิตที่ผูกกับการบริโภคในปัจจุบันอย่างเป็นธรรมชาติ ผู้ส่งสารเองก็ได้รับผลลัพธ์เชิงภาพลักษณ์อย่างเด่นชัด ซึ่งแตกต่างจาก
บทบาทของ “ผู้ปฏิบัติ” ที่ต้องปรับตัวมากกว่าโดยที่อาจไม่มีใครรับรู้และชื่นชมกับการกระทำนั้น
หลายคนคงเคยได้รับ Forward Mail เกี่ยวกับการขอความช่วยเหลือของผู้ป่วยขั้นรุนแรง สิ่งหนึ่งที่เห็นตามมาก็คือที่อยู่อีเมล์จำนวนมหาศาล
ของผู้ที่เคยได้รับเมล์ฉบับนี้ นั่นคือตัวอย่างของพฤติกรรมการส่งผ่าน(รวมไปถึงความรับผิดชอบที่จะช่วยเหลือ) อาจคิดกับเรื่องนี้ได้หลายแบบ
เช่น ไม่สามารถช่วยเหลือได้จึงส่งผ่านไปยังผู้อื่นเพื่อให้เกิดการช่วยเหลือ (ต้องการเลือดกรุ๊ปโอ แต่ไม่ใช่กรุ๊ปเดียวกัน) หรือ
คิดว่าการส่งผ่าน(อย่างลวกๆ)ไปยังผู้อื่น =(เท่ากับ) การช่วยเหลือ โดยที่ไม่จำเป็นต้องพิจารณาว่าสามารถช่วยได้หรือไม่ ควรช่วยหรือไม่
ได้รับความช่วยเหลือไปแล้วหรือยัง ความคิดเช่นนี้สะท้อนได้จากการที่ไม่มีใครในลูกโซ่ลบอีเมล์แอดเดรสที่ยาวเหยียดและเป็นอุปสรรค
ต่อการรับข้อมูลจริงๆ บางเมล์มีการตั้งชื่อเมล์ต่อออกไปเพื่อกำกับพฤติกรรมต่อเนื่องและแสดงถึงคุณค่าบางอย่างที่ได้ส่งต่อ
เช่น ถ้าไม่ส่งต่อก็ไม่ใช่คนแล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคุณค่าบางอย่างที่ใช้อ้างอิงของการส่งต่อนั้นคือ “มนุษยธรรม” และมองว่าการไม่ส่งต่อ
เป็นการกระทำที่ขาดมนุษยธรรม ทำให้นึกถึงพฤติกรรมแบบ Kitsch ที่คุณมุกหอม วงษ์เทศ เคยกล่าวถึงในหนังสือ“พรมแดนทดลอง” ว่า
“Kitsch คือการเชิญชวนชักนำเข้าไปสู่มิติของอารมณ์ความรู้สึกที่ดูเหมือนจะลึกซึ้งสูงส่งด้วยวิธีแบบลัดตื้นสะดวกง่าย หรือการแต่งแต้มสร้างโลก
ที่ชวนให้เชื่อว่าเป็นเช่นนั้นอย่างจริงแท้” อาจเรียกได้ว่าเป็นทัศนคติการมองโลกแบบ “Environment Friendly Kitsch” สภาวะแบบนี้ใช่ว่าจะเกิดกับ
ผู้คนโดยทั่วไปเท่านั้น แม้แต่นักออกแบบสื่อสารเองก็ดูเหมือนจะหลงระเริงกับบทบาทนี้เช่นกัน เพราะด้วยหน้าที่ทางวิชาชีพจะเป็นเหตุผลที่ดีใน
การแสดงบท “ผู้ส่งสาร” แล้ว การรับบทเป็นผู้ประพันธ์ด้วยก็ดูเหมือนจะทำให้ภารกิจนี้มีความท้าทายและมีอำนาจในการประกอบความหมายได้อีก
การควบบทบาทของนักออกแบบสื่อสารนั้นไม่เพียงทำให้บทของการเป็น “ผู้ปฏิบัติ” นั้นดูจะถูกให้ความสำคัญน้อยลง แต่ยังทวีความสูงส่งของสถานะ
การส่งสารที่มีรสนิยมและชวนให้หลงใหลกับสถานภาพนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ก็อาจจะกล่าวโทษใครซักคนไม่ได้เลยว่าทำไมคนส่วนใหญ่ถึงมัวแต่มา
ลุ่มหลงกับผลผลิตของการรณรงค์เชิงสิ่งแวดล้อมมากกว่าเจตจำนงค์ที่แท้จริงของการรณรงค์ (แม้ว่าเจตจำนงค์นั้นจะเป็นเจตจำนงค์เชิงพาณิชย์ก็ตาม)
เพราะในเมื่อเปลือกหุ้มที่นักออกแบบทำให้ดูฉูดฉาดงดงามเกินกว่าผู้คนจะกล้าปอกเปลือกมัน
ขอยกตัวอย่างหนึ่งที่ชี้ให้้เห็นถึงการทับซ้อนและขัดแย้งของชุดความคิดและเจตจำนงค์ในการสื่อสาร ได้แก่ การแสดงนิทรรศการออกแบบของนักออกแบบคนหนึ่งที่จัดแสดงที่ในศูนย์การค้า
โดยถูกประชาสัมพันธ์ภายใต้โครงการที่เป็นประเด็นการนำเสนอภาพลักษณ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผลงานของนักออกแบบถูกเลือกให้มาปรากฏในพื้นที่ทางการค้าด้วยเหตุผล
ที่นักออกแบบใช้กระดาษหนังสือพิมพ์เก่ามาเป็นวัสดุหลักในการสร้างงาน แม้ว่ากระดาษหนังสือพิมพ์เก่าจะเป็นตัวเชื่อมโยงเข้าสู่ประเด็นสิ่งแวดล้อมได้อย่างดี
แต่ตัวผลงานดั้งเดิมเองอาจไม่มีอะไรเชื่อมโยงกับประเด็นเชิงอนุรักษ์เลย ในแง่ของกระบวนการสื่อสาร ปรากฏการณ์นี้อาจให้มิติของเรื่องราวที่หลากหลายและซ้อนทับกันอย่างน่าสนใจ
ด้านศูนย์การค้าที่สนันสนุนพื้นที่จัดแสดงได้นำเสนอภาพลักษณ์(ต่อเนื่อง) ผ่านนิทรรศการงานออกแบบที่สะท้อนให้เห็นถึงเนื้อหาทางสิ่งแวดล้อม (โดยวัดจากวัสดุที่ใช้)
สามารถประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อสารมวลชนจนทำให้ภาพรวมของนิทรรศการเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม
ส่วนนักออกแบบเลือกที่จะสร้างผลงานผ่านรูปทรงแผนที่ด้วยเจตจำนงค์ของตนเอง โดยไม่ได้มุ่งเน้นไปที่กรอบเชิงอนุรักษ์
แต่ขณะเดียวกันก็สร้างความคลุมเครือและความเป็นสาธารณะในการนำเสนอเนื้อหาด้วยรูปสัญญะ(แผนที่)ที่คุ้นชินต่อผู้คนทั้งหลาย
และกำกับเงื่อนไขการมองผลงานในระยะต่างๆ เพื่อความสอดรับกับพื้นที่ที่จัดแสดง ถ้าพิจารณาผ่านเนื้อหาที่ผ่านการประชาสัมพันธ์ก็จะพบว่า
สาระสำคัญในผลงานนั้นเป็นประเด็นเกี่ยวกับการสื่อสารการรับสาร (ซึ่งเป็นประเด็นของนิทรรศการที่แสดงใน Art Gallery ก่อนหน้านี้) และเป็นเรื่อง
ภาษาทางศิลปะและการออกแบบเป็นสำคัญ มากกว่าการรณรงค์สิ่งแวดล้อม แต่สุดท้ายถ้าคนจะเข้าใจเนื้อหาของผลงานเป็นเรื่องสีเขียวอย่างเดียว
นักออกแบบเองก็ไม่สามารถปัดความรับผิดชอบได้ เพราะนักออกแบบเองก็พยายามสร้างช่องทางการตีความให้มีทางเดิน(ที่กว้างด้วย)ไปสู่ประเด็นเชิงสิ่งแวดล้อม
สำหรับผู้ชมผลงานน่าจะได้รับบางสิ่งที่แตกต่างกันจากตัวผลงาน อันเนื่องมาจากเจตจำนงค์ที่แตกต่างกันระหว่างนักออกแบบกับศูนย์การค้า
ดังนั้นข้อมูลที่ผู้ชมได้รับนั้นค่อนข้างจะมีผลกับการรับรู้ต่อตัวงาน กรณีผู้ชมที่เคยชมนิทรรศการก่อนหน้าของคนออกแบบ ก็อาจจะเชื่อมโยงไปสู่เจตจำนงค์
ของนักออกแบบได้ไม่ยากนัก เช่นเดียวกันกับผู้ชมที่ได้รับข้อมูลประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโครงการเชิงรณรงค์ ก็ย่อมจะตีความไปในทางเดียวกัน
แต่สำหรับผู้ชมที่เป็นผู้ที่ผ่านไปมาแล้วก็ชมนิทรรศการจากมุมมองที่ต่างกันก็จะเป็นอิสระจากการกำกับของข้อมูล
นั่นก็ทำให้การรับรู้แตกต่างกันออกไป รวมไปถึงการรับรู้นั้นคือความไม่เข้าใจ...
สำหรับใครบางคนอาจคิดไปว่า ผลงาน Paper Installation ที่ทำมาจากกระดาษหนังสือพิมพ์เก่านั้น น่าจะปล่อยให้มันอยู่ในวิถีของกระบวนการย่อยสลายกระดาษเก่า
ยังจะมีประโยชน์กว่าการเสแสร้งปรุงแต่งให้มันเป็นเครื่องมือการสื่อสารที่ไร้ประสิทธิภาพ หากเพียงแต่ใครคนนั้นเป็นเจ้าของผลงานที่ถอดวางบทบาท “ผู้ส่งสาร”
แล้วหันกลับไปพิจารณาความเป็นมาของปรากฏการณ์หนึ่งๆ
ซึ่งอาจกลายเป็นอีกหนึ่งกลไกที่ขับเคลื่อนให้สิ่งเสมือนหรือภาพเทียมของความห่วงใยสิ่งแวดล้อม นั้นมีอารมณ์ความรู้สึกที่ดูลึกซึ้งและชวนให้เชื่อว่าเป็นเช่นนั้นอย่างแท้จริง...
มันอาจจะใช่ / อาจจะไม่ใช่ / ไม่อาจจะใช่ / ไม่...อาจจะใช่
ถึงแม้จะมีคำกล่าวที่ว่า “ไม่มีสิ่งใดไม่สื่อสาร” แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า “เราจะไม่สามารถไม่ส่งสาร”
เพราะมันไม่ได้มีความหมายว่าใครจะได้รับสารหรือไม่ ใครจะได้รับสารอย่างไร แต่มันสำคัญอยู่ที่“การไม่ส่งผ่านสาร”
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้า“สาร”นั้นหมายถึงบทบาทเชิงบุคคล ที่หลายครั้งผู้คนอาจละเลยว่าจะปฏิบัติต่อบทบาทนั้นอย่างไร
แต่กลับไปพยายามแสวงหาว่าจะนำเสนอบทบาทนั้นอย่างไร บางทีด้วยเหตุนี้อาจทำให้เงื่อนไขของการส่งผ่านสารเกิดขึ้น
“ผู้ส่งผ่านสาร” จึงดูเหมือนจะมีมากกว่า “ผู้ตอบสนองสาร”
Posted by Tik Lawrachawee at Monday, September 15, 2008 1 comments
Labels: Article, Communication Design 5 (Class)
| ข้อเขียนที่เขียนถึงข้อเขียน |
ไปพบข้อเขียนที่พูดถึงบทความที่เคยเขียนลงใน aday weekly ฉบับแรกโดยบังเอิญ
รู้สึกประทับใจที่ข้อเขียนของตัวเองนั้น พอจะมีคนชอบบ้างและคิดต่อ ขอบคุณครับ
ศิลปะ…ไม่ใช่บัญญัติไตรยางค์
สิงหาคม 17, 2008 by janghuman
อ่านบทความของ คุณสันติ ลอรัชวี* กราฟฟิกดีไซน์คนหนึ่ง เขียนลงไว้ใน a day weekly ฉบับปฐมฤกษ์ เมื่อปี ๒๕๔๗ เล่าถึงหลานสาวของคุณสันติ
ชื่อน้องเตย ที่ชอบวาดรูปตามประสาเด็กๆ แต่อยู่มาวันหนึ่งน้องเตยก็มาบ่นให้คุณสันติฟังว่า “เตยไม่ชอบวาดรูปแล้วล่ะ” … คุณสันติได้ให้มุมมองที่น่าสนใจไว้ว่า
“…ในที่สุดผมก็ถึงบางอ้อจนได้ว่าที่น้องเตยไม่อยากวาดรูป (ไม่ใช่ไม่ชอบ) ก็เพราะตั้งแต่ขึ้น ป.๖ มา เธอได้คะแนนไม่ค่อยดีในวิชาศิลปะ วิชาที่เธอเคยทำได้ดีมาตลอด
ผลงานที่ส่งอาจารย์แต่ละชิ้นได้ผลการตัดสินที่ทำให้เธอรู้สึกว่าเธอคงวาดรูปไม่เก่ง มีเพื่อนที่ทำได้ดีกว่าเธอหลายคน วิชาศิลปะยากและไม่สนุกซะแล้ว
จนในที่สุดการวาดรูปกับน้องเตยก็เป็นเหมือนวิชาคณิตศาสตร์กับเด็กอีกหลายคน…
ในความเห็นของผมการวัดผลในวิชาศิลปะระดับประถมศึกษา โดยเฉพาะการให้คะแนนของผลงานควรคำนึงถึงการมีส่วนร่วมในการทำงานศิลปะของเด็กมากกว่าจะคอยใส่ตัวเลขว่า
เธอวาดสวย (ในสายตาใคร?) เอาไป ๑๐ คะแนน เธอวาดพอใช้ (ในสายตาใคร?) เอาไป ๗ คะแนน เธอวาดไม่สวย (ในสายตาใคร?) เอาไป ๔ คะแนน ผลสุดท้ายอาจจะเป็น
กระบวนการหนึ่งที่กีดกันให้ศิลปะกลานเป็นของคนกลุ่มเล็กๆ และคนอื่นๆ ก็จะรู้สึกไม่อยากเกี่ยวข้อง ไม่อยากสนใจ เพราะเคยถูกตัดสินมาแล้ว คุณทำได้ไม่ดี คุณไม่เก่ง
จนในที่สุดก็คือ คุณไม่เกี่ยว…”
เมื่อสมัยเด็กๆ ข้าพเจ้าจำได้ว่าทำคะแนนในวิชาศิลปะได้ดีเป็นพิเศษ คงเพราะเป็นวิชาที่ไม่ต้องใช้ความคิดอะไรมาก สามารถบรรเลงสีสันได้อย่างตามใจนึกตามแต่หัวข้อที่อาจารย์
กำหนดให้ วิชาศิลปะในแต่ละระดับชั้นมีการเรียนการสอนที่แตกต่างกันไป เมื่อประถมข้าพเจ้าจำได้ว่าแทบจะไม่มีการสอนเรื่องของทฤษฎีใดๆ ทั้งสิ้น วิชาศิลปะในแต่ละสัปดาห์
อาจารย์จะบอกล่วงหน้าว่าอาทิตย์นี้จะใช้สีอะไรในชั่วโมงเรียน ซึ่งก็ไม่พ้นจำพวกสีไม้ สีชอล์ก หรือสีน้ำ อาจารย์จะกำหนดหัวข้ออย่างคร่าวๆ ที่เหลือก็ให้นักเรียนบรรเลงเอง
ตามแต่จะนึก ขั้นตอนการเรียนเป็นเช่นนี้มาตลอด แต่สิ่งหนึ่งที่ขัดใจข้าพเจ้ามาตลอดคือการให้คะแนนของอาจารย์ ข้าพเจ้านึกสงสัยตั้งแต่เมื่อครั้งนั้นว่า
ทำไมข้าพเจ้าได้คะแนนต่างจากครั้งที่แล้ว ทำไมข้าพเจ้าได้คะแนนน้อยกว่าเพื่อน หรือทำไมงานของเพื่อนถึงได้คะแนนสูงนักทั้งที่ไม่เห็นจะสวยเท่าไหร่เลย ฯลฯ
เหล่านี้คาใจข้าพเจ้ามาตลอด แม้เมื่อเริ่มร่ำเรียนเกี่ยวกับทฤษฎีศิลปะแล้ว ข้าพเจ้าก็ยังไม่เข้าใจว่าทฤษฎีเหล่านี้มันกลั่นกรองออกมาเป็นตัวเลขได้จริงล่ะหรือ
มีอาจารย์ด้านศิลปะท่าหนึ่งเคยให้ทัศนะไว้ว่าการเป็นกรรมการตัดสินผลงานศิลปะนั้นเป็นเรื่องที่น่าหนักใจที่สุด เชื่อเถอะว่าไม่ว่าใครๆ ต่างก็ต้องมองว่าผลงานของตนนั้นดีเยี่ยม
สมบูรณ์อย่างที่สุดแล้ว แต่เมื่อถูกตัดสินให้แพ้ใครอีกคน คงยากจะทำใจยอมรับ ศิลปะไม่ใช่คณิตศาสตร์ ไม่สามารถเทียบบัญญัติไตรยางค์ได้ ไม่มีสูตรตายตัว
ไม่มีทฤษฎีศิลปะใดที่แน่นอน เราเชื่อได้ไหมว่าการตัดสินงานศิลปะนั้นมีเรื่องของทัศนคติส่วนตัว ความนิยมส่วนตัว มาเกี่ยวข้องด้วย
ถ้าคุณนิยมศิลปะไทย แต่ต้องให้คะแนนผลงานศิลปะร่วมสมัย คุณก็คงอดไม่ได้ที่จะพิจารณาว่าผลงานชิ้นไหนมันแทรกศิลปะแบบไทยๆ ที่คุณชอบเอาไว้บ้าง
หรือถ้าคุณเป็นศิลปินหัวทันสมัยแล้วต้องไปให้คะแนนศิลปะระดับเยาวชน คุณก็จะให้คะแนนผลงานที่แสดงความเป็น Modern มากหน่อย เพราะคุณจะรู้สึกว่าผลงานนี้มันสะดุดใจคุณ
เรื่องของศิลปะไม่น่าจะมีการให้คะแนนเข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างที่คุณสันติว่าไว้ หากเด็กรู้สึกว่าเขาทำคะแนนได้ไม่ดี เขาก็จะเริ่มรู้สึกว่ามันไม่เหมาะกับเขา พาลจะเบื่อหน่าย
และรังเกียจ แต่ถ้ามองในสายตาของครูผู้สอน เขาคงจะถามว่าแล้วจะให้ใช้เกณฑ์อะไรในการตัดสินคะแนนแก่เด็กล่ะ คำตอบของข้าพเจ้าก็คือ ไม่มี ไม่ต้องมีคะแนน
วิชาศิลปะไม่มีตก ไม่มีไม่ผ่าน ควรเป็นวิชาบังคับที่ให้นักเรียนผ่านทุกคนโดยไม่จำเป็นต้องสอบด้วยซ้ำ
จำได้แม่นว่าครั้งหนึ่งข้าพเจ้าส่งงานศิลปะชิ้นหนึ่งแล้วถูกตีกลับมาโดยอาจารย์โน้ตไว้ว่า ไม่สามารถให้คะแนนงานที่ยังไม่เสร็จได้ ข้าพเจ้าหัวเสียมาก เพราะอาจารย์ให้หัวข้อไว้ว่า
ให้ใช้เทคนิคอิสระ งานชิ้นนั้นข้าพเจ้าใช้หมึกดำเขียนเป็นลายเส้น ข้าพเจ้าพอใจผลงานชิ้นนี้มากแต่อาจารย์กลับบอกว่ามันเป็นงานที่คุณขีดๆ มาส่งเท่านั้น เอาไปลงสีให้เรียบร้อย …
ถ้าเป็นตอนนี้คงได้มีเรื่องเถียงกันไม่จบแน่ แต่ในตอนนั้นข้าพเจ้าทำงานชิ้นใหม่ไปส่งอย่างเสียไม่ได้
“… พ่อแม่ของน้องเตยเคยเปรยกับผมถึงการจะให้น้องเตยได้ไปเรียนศิลปะตามสถาบันศิลปะเด็กต่างๆ ที่เปิดกันเต็มบ้านเต็มมเอง
แต่ผมกลับเห็นว่าถ้าจะสนับสนุนหรือส่งเสริมเด็ก สิ่งสำคัญเห็นจะเป็นการสร้างความผูกพันระหว่างศิลปะกับเด็ก มากกว่าจะเป็นกติกาหรือกิจวัตรที่ทุกเสาร์หรืออาทิตย์ ๙ โมงเช้าถึงเที่ยง
เด็กต้องไปเรียนเปียโน บ่ายโมงถึง ๕ โมงเย็น ต่อด้วยเรียนวาดรูป จนบางคนกลายเป็นเครื่องมือให้พ่อแม่ไปอวดบารมีกัน…”
เห็นด้วยกับคุณสันติเลยครับ ไม่รุ้ว่าบรรดาพ่อๆ แม่ๆ ที่ชอบส่งลูกไปเรียนพิเศษ เคยถามลูกไหมว่าลูกอยากไปเรียนหรือไม่ ยิ่งเรื่องของศิลปะ มันไม่ใช่เรื่องที่จะบังคับด้วยเวลากันได้
เอ้า ๑๐ โมงต้องวาดรูป แล้วถ้าไอ้ตอน ๑๐ โมง เด็กเขาไม่อยากวาดรูปล่ะ ที่ลูกๆ ไปเรียนพิเศษกันโครมๆ ข้าพเจ้าว่าเป็นการตอบสนองความต้องการของผู้ปกครองเสียมากกว่า
แม้จะประสงค์ด็ก็เถอะแต่น่าจะเข้าใจจิตใจเด็กๆ ด้วย
Posted by Tik Lawrachawee at Monday, September 15, 2008 0 comments
Labels: Article